พระราชาของเราไม่เคยเสด็จฯ ไป แม้ว่าพื้นที่นั้นจะมีความยากลำบาก ทุรกันดารเพียงใดก็ตาม จะเห็นได้ว่าเกือบทุกที่ในประเทศไทยที่มีปัญหาทำกิน รอความช่วยเหลือ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชดำเนินไปเพื่อทรงชี้แนะแนวทางแก้ไขในทุกเรื่องในแต่ละพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของดิน ฟ้า ป่า ฝน น้ำ ความยากจน ความแตกแยก และปัญหานับหมื่นนับแสน จนเกิดเป็นโครงการพระราชดำริทั้งขนาดเล็กไปจนถึงใหญ่มากมายกว่า 4,000 โครงการ ทำให้เมืองไทยจึงเปรียบเสมือนห้องเรียนขนาดใหญ่ที่มีพระองค์ทรงเป็นครูของแผ่นดิน ชี้นำศาสตร์พระราชา หรือคำสอนของพระองค์ช่วยพัฒนาประเทศ
การได้เกิดเป็นคนไทยถือเป็นเรื่องที่โชคดีอย่างมาก เพราะเมื่อมีปัญหา เราก็มีพระราชาที่ทรงคิดหาทางแก้ไขให้อยู่เสมอ ไม่มีพื้นที่แห่งไหนในประเทศไทยที่
จากศาสตร์พระชาช่วยเหลือราษฎร ทำให้การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ได้เปิดโครงการ “วิชา ๙ หน้า” ศาสตร์พระราชาจากตำราของพ่อ นำเสนอ 9 วิชา ผ่าน 9 บุคคล ซึ่งเป็นผู้มีอิทธิพลทางความคิดในแวดวงต่างๆ มาเป็นผู้ถ่ายทอดแต่ละวิชาที่ได้ไปสัมผัสจริงในชุมชนต่างๆ โดยมีศาสตร์พระราชาเป็นแกนหลักของแต่ละบทผ่านการท่องเที่ยวชุมชน ที่แต่ละชุมชนได้น้อมนำหลักการและแนวคิดของพระองค์มาเป็นแนวทางในการใช้ชีวิต และพัฒนาชุมชนให้เกิดการเติบโตอย่างยั่งยืน นำเสนอผ่านสื่อออนไลน์และโซเชียลมีเดีย ประกอบด้วย 9 เรื่อง ได้แก่ 1.วิชาปรุงไทยในใจคน เรื่องราวเกี่ยวกับการสืบสานตำนานเรือ ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กทม. ถ่ายทอดโดย กอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา 2.วิชาชลปราการ เรื่องเขื่อนของพ่อ ที่เขื่อนขุนด่านปราการชล จ.นครนายก โดย นายยุทธศักดิ์ สุภสร ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย 3.วิชาหมอดิน เกี่ยวกับปัญหาดินเสื่อมโทรม ที่ศูนย์ศึกษาวิธีการฟื้นฟูที่ดินเสื่อมโทรมเขาชะงุ้ม อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ.ราชบุรี ถ่ายทอดโดย บอย โกสิยพงษ์ นักแต่งเพลง 4.วิชาหลอกฟ้า กับเรื่องการทำฝนเทียมที่เกิดจากปัญหาภัยแล้ง ที่ศูนย์ฝนหลวงหัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ โดย นายกรรณ สวัสดิวัตน์ ณ อยุธยา นักแสดง
5.วิชาธรรมชาติสามัคคี เรื่องราวเกี่ยวกับป่า ที่โครงการพัฒนาป่าไม้ตามแนวพระราชดำริภูหินร่องกล้า จ.พิษณุโลก โดย วงศ์ทนง ชัยณรงค์สิงห์ ผู้ก่อตั้งนิตยสาร a day 6.วิชาตำนานพันธุ์ เรื่องเกี่ยวกับการเกษตร ที่ศูนย์การศึกษาพัฒนาภูพาน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ.สกลนคร โดย วิศุทธิ์ พรนิมิตร นักวาดภาพประกอบ 7.วิชารักแรงโน้มถ่วง กับโครงการแก้มลิงในพระราชดำริทุ่งทะเลหลวง จ.สุโขทัย โดย สุชาณัฐ ชิดไทย บล็อกเกอร์สุดครีเอทีฟ เจ้าของเพจ “คนตัวจิ๋ว” 8.วิชาปลูกรักษ์ กับการเปลี่ยนแปลงใน จ.เชียงใหม่ ที่สถานีเกษตรหลวงอินทนนท์ จ.เชียงใหม่ โดย น้องชื่นใจ และคุณแม่พนิดา เอี่ยมศิรินพกุล อดีตบรรณาธิการและนักเขียนสำนักพิมพ์ polka dots 9.วิชานิเวศปฐมวัย ที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ.จันทบุรี โดย ชุดารี เทพาคำ Top Chef Thailand
สำหรับทั้ง 9 บุคคลที่ได้ถ่ายทอดศาสตร์พระราชาจากการลงพื้นที่นั้น ทุกคนล้วนบอกว่าเป็นวิชาที่คาดไม่ถึง และเมื่อได้ไปสัมผัสด้วยตนเองทำให้รู้ซึ้งมากกว่าการได้เห็นในโทรทัศน์
วงศ์ทนง ชัยณรงค์สิงห์ ผู้ถ่ายทอดวิชาธรรมชาติสามัคคี เล่าว่า ตนได้มีโอกาสไปภูหินร่องกล้าครั้งแรกในชีวิต สำหรับเด็กรุ่นใหม่ๆ อาจจะไม่ทราบว่า ย้อนกลับไปเมื่อประมาณ 20-30 ปีที่แล้ว ภูหินร่องกล้าเคยเป็นสมรภูมิรบ ด้วยความขัดแย้งทางการเมือง แต่หลังจากเหตุการณ์ทางการเมืองผ่านไป ในพื้นที่นั้นจะมีชาวเขาเผ่าม้งอยู่ ในหลวง ร.9 ทรงเห็นว่าชาวเขาเผ่าม้งส่วนใหญ่ก่อนหน้านี้ปลูกฝิ่นเป็นอาชีพ ท่านก็ทรงเข้าไปในพื้นที่ ทรงสอนชาวเขาว่าอย่าปลูกฝิ่นเลยมันผิด แล้วก็เป็นการเข้าไปบุกรุกเผ้าถางป่า สร้างความเสียหายด้วย มาปลูกต้นไม้ ปลูกผัก-ผลไม้ดีกว่า เห็นได้เลยว่านอกจากท่านจะมีพระปรีชาสามารถหลายๆ ด้านแล้ว ท่านก็ยังทรงเป็นคนที่มีเมตตา เพราะก่อนหน้านี้หลังจากเกิดเหตุการณ์ขัดแย้งผ่านไป ชาวเขาก็จะถูกผลักดันให้ออกจากพื้นที่ป่า แต่พระองค์ทรงเห็นว่าวิธีที่จะรักษาป่าที่ดีที่สุด ไม่ใช่ไล่คนออกจากป่า แต่ให้คนอยู่กับป่าอยู่ด้วยกันได้ สามัคคีด้วยกันได้ เพราะฉะนั้น สิ่งที่ทำให้แยบยลมากคือให้ชาวเขามีอาชีพที่ทำรายได้ ขณะเดียวกันชาวเขาเหล่านั้นก็เป็นผู้ระมัดระวัง ดูแลป่าให้อุดมสมบูรณ์ เพราะว่าอาชีพเขาอยู่ที่นั่น
วงศ์ทนงเล่าต่อว่า ชาวเผ่าม้งได้หันมาปลูกพืชที่เป็นมิตรกับธรรมชาติอย่าง กาแฟอาราบิก้า และสตรอว์เบอร์รีพันธุ์พระราชทาน 80 โดยผลผลิตนำไปจำหน่ายนักท่องเที่ยวที่มาชมความงามของทุ่งดอกกระดาษและดอกดงพญาเสือโคร่ง ซึ่งชาวเขาช่วยกันปลูกเพื่อทดแทนผืนป่าเดิมบนยอดดอยที่ถูกบุกรุกทำลายจนมีสภาพเป็นเขาหัวโล้น ทั้งนี้ พระองค์ยังได้ทรงปลูกฝังแนวคิดเรื่องป่าเป็นเรื่องของทุกคน “คนอยู่กับป่า ป่าอยู่กับคน” ด้วยการสอนให้ชาวเขารู้จักวิธีดูแลรักษาธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นการทำแนวป้องกันไฟป่า การดูแลพันธุ์พืชสัตว์ป่า การดูแลแหล่งน้ำธรรมชาติ ฯลฯ ส่งผลให้ภูหินร่องกล้ากลับมาอุดมสมบูรณ์ในระยะเวลาไม่นาน อยากให้เยาวชนรุ่นใหม่ๆ ได้ไปสัมผัสและเรียนรู้ที่ภูหินร่องกล้าด้วย
ด้านกรรณ สวัสดิวัตน์ ณ อยุธยา ผู้ถ่ายทอดวิชาหลอกฟ้า กล่าวว่า ที่ศูนย์ฝนหลวงหัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ เป็นแหล่งเรียนรู้ที่ดีที่สุดอีกแห่งหนึ่งด้านศาสตร์พระราชา เพราะการทำฝนหลวงนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย ซึ่งก็มาจากปัญหาภัยแล้งที่เป็นทุกข์ของทุกคน การที่ตนได้ไปศึกษาการทำฝนหลวงที่นั่นเริ่มแรก ได้ขึ้นเครื่องบินไปเรียนรู้ด้วยตนเอง เริ่มจากความหวาดกลัว แล้วค่อยทำความเข้าใจถึงความเสียสละของแต่ละคน ทั้งนักบิน คนปล่อยสารเคมี แล้วก็ได้รู้ว่ามีการใช้เกลือทะเลดูดน้ำเพื่อให้เมฆตัวอ้วน แล้วก็ต้องมีคนคอยดูทิศทางของเมฆ เป็นเรื่องยาก ซับซ้อนอยู่พอประมาณ แต่เป็นภาพที่ประทับใจมากที่ได้เห็นการทำฝนหลวง เป็นสิ่งที่ลูกหลานจะต้องไปดู ไปชมสักครั้งในชีวิต เพราะพระองค์ได้ทรงค้นงานวิจัยจากต่างประเทศจำนวนมาก เพื่อศึกษาหาความเป็นไปได้ในการทำฝนเทียม ฝนที่ในหลวงทรงสร้างจากศาสตร์ของการหลอกฟ้า ทั้งคิดค้นและทดลองซ้ำแล้วซ้ำเล่ามานานถึง 14 ปี จนสุดท้ายกลายเป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยชาวบ้านนับแสนนับล้านให้รอดพ้นวิกฤติ จนผู้คนขนานนามว่า “ฝนหลวง” ที่เป็นที่รู้จักกันในปัจจุบัน
อย่างไรก็ตาม สามารถติดตามวิดีโอสารคดีวิชาอื่นๆ ได้ทางเฟซบุ๊กแฟนเพจ เที่ยวไทยเท่ และ ททท. ร่วมกับบริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ในการจัดทำหนังสือ “วิชา ๙ หน้า” ศาสตร์พระราชาจากตำราของพ่อ จำนวน 50,000 เล่ม สำหรับผู้ที่สนใจฟรี สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่ 1672 เบอร์เดียวเที่ยวทั่วไทย
ประชาสัมพันธ์โดย : www.travel2mukdahan.com
แสดงความคิดเห็น