ชนเผ่าไทยกุลา
ชนเผ่าไทยกุลา (ไทยใหญ่)
คำว่า "กุลา" มาจากภาษาพม่าซึ่งแปลว่าคนต่างถิ่น กุลาคือพวกเงี้ยวหรือพวกรองซู่ใน รัฐไทยใหญ่ของพม่า พวกเงี้ยวหรือตองซู่เมื่อเดินทางมาค้าขายในภาคอีสานถูกชาวอีสานตั้ง ชื่อให้ใหม่ว่า "กุลา" คือคนต่างถิ่น กุลาชอบเดินทางมาค้าขายในหัวเมืองภาคอีสานแถบลุ่มแม่น้ำโขง ในสมัยโบราณเป็นจำนวนมากจนมีชื่อเป็นอนุสรณ์ว่า "ทุ่งกุลาร้องไห้"
ชาวกุลาชอบเร่ร่อนค้าขายโดยนำ เอาผ้าแพรพรรณหรือเครื่องใช้ในการดำรงชีวิตตลอดทั้งเครื่องทองเหลือง เช่น ฆ้อง, มีดดาบ ฯลฯ มาเร่ขายในภาคอีสานโดยเฉพาะแถบลุ่มแม่น้ำโขงแล้วซื้อวัวควายต้อนกลับไปพม่า กุลาบางพวก ได้ตั้งรกรากและแต่งงานกับชาวผู้ไทยหรือชาวอีสาน เช่นที่ตำบลแสนพัน อำเภอธาตุพนม, อำเภอเรณูนครหลายหมู่บ้านและที่อำเภอหนองสูง จังหวัดมุกดาหาร จนมีบุตรหลานสืบเชื้อสายต่อมา กุลาเหล่านี้มีสัญชาติและอยู่ในบังคับของอังกฤษเมื่อมีคดีความเกิดขึ้นต้องรายงานให้สถานทูตอังกฤษทราบทุกครั้งผู้ชายกุลามีรูปร่างสูงใหญ่ ชอบนุ่งโสร่งหรือไม่ก็นุ่งกางเกงขายาวปลายบานและโพกศีรษะทรงสูง เมื่อ พ.ศ.2446 ชาวกุลาหรือเงี้ยวมาค้าขายฝิ่นอยู่ในเขตเมืองหนองสูงเป็นจำนวนมากโดยได้แต่ง งานกับผู้หญิงชาวผู้ไทยและตั้งรกรากอยู่ที่บ้านขุมขี้ยางในปัจจุบันต่อมาพวกกุลาซึ่งถือสัญชาติอังกฤษ ไม่เคารพต่อกฏหมายของบ้านเมืองได้ก่อการจลาจลขึ้นที่ทุ่งหมากเฒ่าเขตเมืองหนองสูงซึ่งขึ้น กับเมืองมุกดาหาร จนทางเมืองมุกดาหารต้องขอกำลังจากมณฑลอุดรมาสมทบเพื่อช่วยปราบปราม ปัจจุบันทุ่งหมากเฒ่าและบ้านขุมขี้ยางตัดโอนไปขึ้นกับเขตอำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์แล้ว แต่ก็ยังมีลูกหลานเชื้อสายของชาวกุลาอยู่ในท้องที่อำเภอหนองสูง จังหวัดมุกดาหารอีกเป็นจำนวนมาก
อนุสรณ์ว่าทุ่งกุลาร้องไห้ พวกกุลาชอบนำเอาผ้าแพรพรรณ หรือ เครื่องมือเครื่องใช้ในการดำรงชีวิตตลอดทั้งเครื่องทองเหลือง เช่น ฆ้อง มีด ดาบ ฯลฯ มาเร่ขายในภาคอีสาน แล้วซื้อวัว ควาย กลับไปพม่า กุลาบางพวก ได้ตั้งรกรากแต่งงานกับชาวไทยอีสานและผู้ไทย เช่น ที่เมืองเรณูนคร ตำบลแสนพัน อำเภอธาตุพนมและที่เมืองหนองสูง เขตเมืองมุกดาหาร จนมีบุตรหลานสืบเชื้อสายต่อมากุลาเหล่านีี้้ในอดีตมีสัญชาติ และอยู่ในบังคับในอดีตเรียกว่าอยู่ในสัปเยกต์ (SUBJECT-บังคับ)ของอังกฤษ เพราะพม่าเป็นอาณานิคมของอังกฤษ เมื่อกุลาเกิดคดีความขึ้น ต้องรายงานให้สถานทูตอังกฤษทราบทุกครั้งกุลามีรูปร่างสูงใหญ่ชอบนุ่งโสร่งหรือกางเกงขายาวปลายบานถึงข้อเท้าและโพกศีรษะทรงสูงในสมัยรัชกาลที่ 5 กุลาหรือเงี้ยวนำฝิ่นมาค้าขายอยู่ในเขตเมืองหนองสูง เขตเมืองมุกดาหารเป็นจำนวนมากต่อมาได้ตั้งรกรากอยู่ที่ทุ่งหมากเฒ่า เมืองหนองสูง ไม่ยอมปฏิบัติตามกฎหมาย บ้านเมือง และก่อการจลาจลขึ้นที่ทุ่งหมากเฒ่า เมืองหนองสูง ไม่ยอมปฏิบัติตามกฎหมายบ้านเมือง และก่อการจลาจลขึ้นที่ทุ่งหมากเฒ่า
เมื่อ พ.ศ. 2446 ทางเมืองมุกดาหารต้องขอกำลังจากมณฑลอุดรมาช่วยปราบปราม เมื่อปราบปรามเสร็จแล้วจึงแยกย้ายพวกกุลาให้แยกกันออกไปตั้งบ้านเรือนอยู่ในเขตเมืองหนองสูง รวมทั้งในเขตอำเภอคำชะอี หลายหมู่บ้าน ส่วนบริเวณทุ่งหมากเฒ่า ต่อมาได้ตัดแบ่งเขตให้ไปอยู่ในเขตอำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ ซึ่งได้จัดตั้งขึ้นเป็นหมู่บ้านขุมขี้ยาง
ประเพณีการแต่งกายผู้ชาย ในอดีตมักไว้ผมยาวและเกล้าไว้กลาง ซึ่งถือว่าเป็น เอกลักษณ์ประจำกลุ่มของกุลา และมักนิยมนุ่งโสร่ง นิยมการสักผิว ผู้หญิงนิยม ไว้ผมยาวเกล้าไว้ตรงกลาง เช่นกัน เรียกว่า เกล้ากะต้อ มีปิ่นปัก นุ่งผ้าซิ่น และพาดผ้าเฉียงอกการนุ่งห่ม นุ่งห่มด้วยผ้าด้ายดิบ สีหม่น ซึ่งทอและย้อมสีครามดำหรือหม่น ชายนิยมนุ่งกางเกงโห่งโย่ง(เป้ายาน) สวมเสื้อกว้างใหญ่สีขาว โพกหัวด้วยผ้าโพกหัวสีขาว ส่วนผู้หญิงชอบนุ่งซิ่นด้าย สีดำ โพกหัวด้วยผ้าโพกหัวสีขาว เมื่อมีงานปอยหลวงหรืองานบุญ ทั้งชายและ หญิงจะแต่งตัวสวยงามด้วยผ้าไหมหรือผ้าแพรที่ทอหรือตัดเย็บอย่างปราณีต งดงาม และสวมใส่เครื่องประดับ เช่น เงินหรือ ทอง เพื่อแสดงฐานะ
การใช้ภาษานับเลข การนับเลขที่ใช้กันในชีวิตประจำวันสามารถแบ่งได้ดังนี้
- เลข 1 - 19 นับเหมือนภาษาไทย คือ หนึ่ง , สอง , สาม , … , สิบเก้า
- เลข 20 เรียกว่า ซาว
- เลข 21 เรียกว่า ซาวเอ็ด
- เลข 100 เรียกว่า ปาก
- เลข 1,000 เรียกว่า เหง
- เลข 10,000 เรียกว่า ซอง
- เลข 100,000 เรียกว่า ซิง
- เลข 1,000,000 เรียกว่า ซาน
ชาวกุลาศรัทธาในพระพุทธศาสนา นิยมทำบุญสุนทาน บิดามารดาจะสอนให้บุตรขยันขันแข็งทำมาหากิน ไม่นับถือผีปู่ย่าตายาย แต่เชื่อเรื่องเวทมนต์ เครื่องรางของขลัง กุลามักมีงาช้าง นอแรด ว่าน ติดกายขณะเดินทาง