ชนเผ่าผู้ไทย (ภูไท)
คำว่า “ผู้ไทย” บางท่านมักเขียนว่า “ภูไท” ผู้ไทย คำว่า'ผู้" หรือ "พู้" เป็นสำเนียง ออกเสียงคำพูด ของคนภูไท แต่ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตเขียนว่า “ผู้ไทย”ถิ่นฐานดั้งเดิมของชาวผู้ไทยอยู่ในแคว้นสิบสองจุไทยและแค้วนสิบสองปันนา (ดินแดนส่วนเหนือของลาว และ เวียดนาม ซึ่งติดต่อกับดินแดนภาคใต้ของจีน) ราชอาณาจักรไทยได้สูญเสียดินแดนสิบสองจุไทย ซึ่งอยู่ในเขตของลาวให้แก่ฝรั่งเศสเมื่อ ร.ศ.107 (พ.ศ.2431)
เดิมชาวผู้ไทยแบ่งออกเป็น 2 พวกคือ
1. ผู้ไทยดำ มีอยู่ 8 เมือง นิยมแต่งกายด้วยเสื้อผ้าสีดำและสีคราม
2. ผู้ไทยขาว มีอยู่ 4 เมือง อยู่ใกล้ชิดติดกับชายแดนจีนจึงนิยมแต่งกายด้วยเสื้อผ้าสีขาว
รวมผู้ไทยดำและผู้ไทยขาวมี 12 เมือง จึงเรียกดินแดนส่วนนี้ว่า "สิบสองจุไทย" หรือ "สองเจ้าไทย"
ในสมัยพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชที่ 2 (เจ้าองค์หล่อ) แห่งราชอาณาจักรเวียงจันทน์ ได้มีหัวหน้าชาวผู้ไทยซึ่งมีนามว่า พระศรีวรราช ได้มีความดีความชอบในการ ช่วยปราบกบฏในนครเวียงจันทน์จนสงบราบคาบกษัตริย์เวียงจันทน์ จึงได้ปูนบำเหน็จ โดยพระราชทานพระราชธิดาชื่อนางช่อฟ้า ให้เป็นภรรยา ในกาลต่อมาจึงได้แต่งตั้งให้บุตรซึ่ง เกิดจากพระศรีวรราชหัวหน้าชาวผู้ไทย และเจ้านางช่อฟ้ารวม 4 คนแยกย้ายกันไปปกครองหัวเมืองชาวผู้ไทย คือ เมืองสบแอก เมืองเชียงค้อ เมืองวัง เมืองตะโปน (เซโปน) พร้อมกับอพยพชาวผู้ไทยลงไปทางใต้ของราชอาณาจักรเวียงจันทน์(ปัจจุบันอยู่ในแขวงสุวรรณเขตของลาวติดชายแดนญวน) (เรียบเรียงจากบทพระนิพนธ์ ของ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระเจ้าประดิษฐาสารีในหนังสือชื่อพระราชธรรมเนียมลาวซึ่งพิมพ์เมื่อ พ.ศ.2479 ซึ่งพระองค์เป็นพระราชธิดาของรัชกาลที่ 4 และเจ้าจอมมารดาดวงคำ เจ้าจอมมารดาดวงคำ เป็นราชนัดดาของเจ้าอนุวงษ์เวียงจันทน์ ) ต่อมาชาวผู้ไทยได้ แยกย้ายออกไปตั้งเป็นเมืองพิน เมืองนอง เมืองพ้อง เมืองพลาน เมืองเชียงฮ่ม, เมืองผาบัง, เมืองคำอ้อคำเขียว เป็นต้น ซึ่งปัจจุบันอยู่ในแขวงสุวรรณเขต ของลาว ในสมัยรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เจ้าอนุวงษ์เวียงจันทน์ เป็นกบฎต่อกรุงเทพมหานคร เมื่อ พ.ศ.2369 เมื่อกองทัพไทยยกขึ้นไปปราบปรามจนสงบราบคาบแล้วทางกรุงเทพฯ มีนโยบายจะอพยพพวกผู้ไทย ข่า กะโซ่ กะเลิง ฯลฯ จากฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงให้มาตั้งบ้านตั้งเมืองอยู่ทางฝั่งขวาแม่น้ำโขง(ภาคอีสาน) เพื่อมิให้เป็นกำลังแก่เวียงจันทน์ และญวนอีกต่อไป จึงไปกวาดต้อนผู้คนซึ่งเป็นชาวผู้ไทยจากเมืองวัง, เมืองตะโปน, เมืองพิน, เมืองนอง, เมือง, เมืองคำอ้อคำเขียว ซึ่งอยู่ในแขวงสุวรรณเขตของลาวปัจจุบัน วึ่งยังเป็นอาณาเขตของพระราชอาณาจักรไทยอยู่ในขณะนั้นให้ข้ามโขงมาตั้งบ้านตั้งเมือง ทางฝั่งขวาแม่น้ำโขงในเขต เมืองกาฬสินธิ์, สกลนคร, นครพนมและมุกดาหาร คือ...มีหมู่บ้านเชื้อสายภูไท ร้อยกว่าหมู่บ้านประชากรเกือบ 1 ใน 4 เป็นชาวผู้ไทยซึ่งกระจัดกระจาย อยู่ในท้องที่เมืองต่าง ๆในอดีต คือ
1.เมืองเรณูนคร ตั้งในสมัยราชกาลที่ 3 เมื่อ พ.ศ. 2387 เป็นชาวผู้ไทยที่อพยพมาจากเมืองวัง มีนายไพร่รวม 2,648 คน ต่อมาได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งให้ ท้าวสาย เป็น "พระแก้วโกมล" เจ้าเมืองเรณูคนแรก ยกบ้านบุ่งหวายขึ้นเป็นเมืองเรณูนคร ขึ้นเมืองนครพนม คือท้องที่อำเภอเรณูนคร จังหวัดนครพนมในปัจจุบัน (จากเอกสาร ร.3 จ.ศ.1206 เลขที่ 58 หอสมุดแห่งชาติ)
2. เมืองพรรณานิคม ตั้งในสมัยรัชกาลที่ 3 เมื่อ พ.ศ. 2387 เป็นชาวผู้ไทยอพยบมาจากเมืองวัง จำนวน สองพันกว่าคน ไปตั้งอยู่ที่บ้านผ้าขาวพันนา ตั้งขึ้นเป็นเมืองพรรณานิคมขึ้นกับเมืองสกลนคร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งให้ ท้างโฮงกลาง เป็น "พระเสนาณรงค์" เจ้าเมืองคนแรก ต่อมาได้ย้ายเมืองพรรณานิคมไปตั้งที่บ้านพานพร้าว คือท้องที่อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนครในปัจจุบัน (จากเอกสาร ร.3 จ.ศ.1206 เลขที่ 58 หอสมุดแห่งชาติ)
3.เมืองกุฉินารายณ์ ตั้งในสมัยราชกาลที่ 3 เมื่อ พ.ศ. 2387 เป็นชาวผู้ไทยที่อพยบมาจากเมืองวังจำนวน 3,443 คน ไปตั้งอยู่ที่บ้านกุดสิม ตั้งขึ้นเป็นเมือง "กุฉินารายณ์" ขึ้นเมืองกาฬสินธิ์ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งให้ ราชวงษ์เมืองวัง เป็น "พระธิเบศรวงษา" เจ้าเมืองกุฉินารายณ์, อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธิ์ (จากเอกสาร ร.3 จ.ศ.1206 เลขที่ 58 หอสมุดแห่งชาติ)
4. เมืองภูแล่นช้าง ตั้งในสมัยราชกาลที่ 3 เมื่อ พ.ศ. 2387 เป็นชาวผู้ไทยที่อพยพมาจากเมืองวัง
จำนวน 3,023 คน ไปตั้งอยู่ที่บ้านภูแล่นช้าง ตั้งขึ้นเป็นเมือง "ภูแล่นช้าง" ขึ้นเมืองกาฬสินธิ์ ทรงกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งให้หมื่นเดชอุดมเป็น "พระพิชัยอุดมเดช" เจ้าเมืองคนแรก ปัจจุบันคือท้องที่อำเภอเขาวงกาฬสินธิ์ (จากเอกสาร ร.3 จ.ศ.1206 เลขที่ 58 หอสมุดแห่งชาติ)
5. เมืองหนองสูง ตั้งในสมัยราชกาลที่ 3 เมื่อ พ.ศ. 2387 เป็นชาวผู้ไทยที่อพยพมาจากเมืองวังและเมืองคำอ้อคำเข ียว (อยู่ในแขวงสุวรรณเขต ดินแดนลาว) จำนวน 1,658 คน ตั้งอยู่บ้านหนองสูงและบ้านคำสระอี ในดงบังอี่ (คำสระอีคือหนองน้ำในดงบังอี่ ต่อมากลายเป็น คำชะอี) ตั้งเป็นเมืองหนองสูง ขึ้นเมืองมุกดาหาร ทรงกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งให้ ท้าวสีหนาม เป็น "พระไกรสรราช" เจ้าเมืองคนแรก เมืองหนองสูงในอดีตคือท้องที่ อ.คำชะอี (ตั้งแต่ห้วยทราย), อำเภอหนองสูงและท้องที่อำเภอนาแก ของจังหวัดนครพนมด้วย (จากเอกสาร ร.3 จ.ศ.1206 เลขที่ 58 หอสมุดแห่งชาติ)
6. เมืองเสนางคนิคม ตั้งในสมัยราชกาลที่ 3 เมื่อ พ.ศ. 2387 เป็นชาวผู้ไทยที่อพยพมาจาก
เมืองตะโปน (เซโปน) ซึ่งปัจจุบันอยู่ทางฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงในแขวงสุวรรณเข ต ติดชายแดนเวียตนาม อพยพมา 948 คน ไปตั้งอยู่ที่บ้านส่องนาง ยกขึ้นเป็นเสนางคนิคมขึ้นเมืองอุบลราชธานี ทรงกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งให้ ท้าวจันทร์จากเมืองตะโปน เป็น "พระศรีสินธุสงคราม" เจ้าเมืองคนแรก ต่อมาได้ย้ายไปตั้งเมืองที่บ้านห้วยปลาแดกและเมื่อยุ บเมืองลงเป็นอำเภอเสนางคนิคม ย้ายไปตั้งอำเภอที่บ้านหนองทับม้า คือ ท้องที่อำเภอเสนางคนิคม จังหวัดอำนาจเจริญในปัจจุบัน (จากเอกสาร ร.3 จ.ศ.1206 เลขที่ 58หอสมุดแห่งชาติ)
7. เมืองคำเขื่อนแก้ว ตั้งในสมัยราชกาลที่ 3 เมื่อ พ.ศ. 2387 เป็นชาวผู้ไทยที่อพยพมาจากเมืองวัง จำนวน 1,317 คน ไปตั้งอยู่ที่บ้านคำเขื่อนแก้วเขตเมืองเขมราฐ ตั้งขึ้นเป็นเมืองคำเขื่อนแก้ว ขึ้นเมืองเขมราฐ ทรงกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งให้ ท้าวสีหนาท เป็น "พระรามณรงค์" เจ้าเมืองคนแรก เมื่อยุบเมืองคำเขื่อนแก้วได้เอานามเมืองคำเขื่อนแก้ วไปตั้งเป็นชื่ออำเภอที่ตั้งขึ้นใหม่ที่ตำบลลุมพุก คือ อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธรในปัจจุบัน ส่วนเมืองคำเขื่อนแก้วเดิมที่เป็นผู้ไทย ปัจจุบันเป็นตำบลคำเขื่อนแก้ว อยู่ในท้องที่อำเภอชานุมาน จังหวัดอำนาจเจริญในปัจจุบัน (จากเอกสาร ร.3 จ.ศ.1206 เลขที่ 58 หอสมุดแห่งชาติ)
8. เมืองวาริชภูมิ ตั้งในสมัยราชกาลที่ 5 เมื่อ พ.ศ. 2420 เป็นชาวผู้ไทยที่อพยพมาจากเมืองกะปอง ซึ่งอยู่ในห้วยกะปองแยกจากเซบั้งไฟไหลลงสู่แม่น้ำโขง ในแขวงคำม่วนฝั่งลาว จึงมักนิยมเรียกผู้ไทยเมืองวาริชภูมิว่า "ผู้ไทยกระป๋อง" ผู้ไทยเมืองกระปองไปตั้งอยู่ที่บ้านปลาเปล้า แขวงเมืองหนองหาร จึงตั้งบ้านปลาเปล้าขึ้นเป็น "เมืองวาริชภูมิ" ขึ้นเมืองหนองหาร ต่อมาได้ย้ายเมืองไปตั้งที่บ้านนาหอย เขตเมืองสกลนคร จึงให้ยกเมืองวาริชภูมิไปขึ้นเมืองสกลนครคือท้องที่อ ำเภอวาริชภูมิ จังหวัดสกลนคร ในปัจจุบัน ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งให้ ท้าวพรหมสุวรรณ์ เป็น "พระสุรินทร์บริรักษ์" (จากเอกสาร ร.5 มท. เล่ม 15 จ.ศ.1240 หอจดหมายเหตุแห่งชาติ)
9. เมืองจำปาชนบท ตั้งเมื่อรัชกาลที่ 5 เมื่อ พ.ศ. 2421 เป็นชาวผู้ไทยที่อพยพจากเมืองกะปอง ตั้งอยู่ที่บ้านจำปานำโพนทอง ตั้งขึ้นเป็นเมืองจำปาชนบท ขึ้นเมืองสกลนคร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งให้ ท้าวแก้วเมืองกะปอง เป็น "พระบำรุงนิคม" เจ้าเมืองคนแรก ปัจจุบันคือท้องที่อำเภอพังโคน จังหวัดสกลนคร (จากเอกสาร ร.5 มท. เล่ม 15 จ.ศ. 1240 หอสมุดแห่งชาติ) อ่านเพิ่มเติมในหนังสือ มุกดาหาร
จังหวัดมุกดาหาร แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 7 อำเภอ มีชนเผ่าชาวภูไทอาศัยอยู่กระจัดกระจาย อยู่ในอำเภอต่างๆ คือ
1. อำเภอเมืองมุกดาหาร
มีชาวผู้ไทยอยู่ที่บ้านดงมอญ บ้านเหล่าแขม บ้านสงเปลือย บ้านจอมมณี บ้านนาโสก บ้านเหล่าปาเป้ด บ้านหัวภู บ้านหนองน้ำเต้า บ้านนาโด่
2. อำเภอคำชะอี
มีชาวผู้ไทยที่บ้านคำชะอี บ้านห้วยลำโมง บ้านนากลาง บ้านกกไฮ บ้านนาปุง บ้านแก้งช้างเนียม บ้านคำบก บ้านบาก บ้านหนองกะปาด บ้านห้วยทราย บ้านโพนสว่าง
3. อำเภอหนองสูง
มีชาวผู้ไทยที่บ้านหนองสูง บ้านโนนยาง บ้านนาหนองแคน บ้านคำพอก บ้านดงมะแหน่ง บ้านหนองโอ บ้านวังไฮ บ้านนาตะแบง บ้านหนองแต้ บ้านงิ้ว บ้านวังนอง บ้านคันแท บ้านเป้าบ้านภู บ้านคำพี้ บ้านป่าแสด บ้านแวง บ้านโคกกลาง บ้านโคกหินกอง บ้านหลุบปึ้ง
4. อำเภอดงหลวง
มีชาวผู้ไทยที่บ้านก้านเหลืองดง บ้านหนองแคน บ้านหนองบัว บ้านหนองหนาว บ้านชะโนด บ้านกกตูม บ้านขัวสูง บ้านแก่งนาง บ้านกกกอก บ้านส่านแว้ บ้านคำผักกูด บ้านนาหินกอง
5. อำเภอนิคมคำสร้อย
มีชาวผู้ไทยที่บ้านต่อเขตบ้านกกแดง บ้านนากอก บ้านหนองแวง บ้านหนองนกเขียน
6. อำเภอดอนตาล
มีชาวผู้ไทยที่บ้านโคก บ้านหนองหล่ม บ้านดง บ้านคำดู่
เอกลักษณ์ของชาวผู้ไทย คือ เหล้าอุ (เหล้าไห ที่ทำด้วยข้าวเปลือกมีไม้ซางดูด)
จนอาจกล่าวได้ว่ามีชาวผู้ไทยอยู่ที่ใดต้องมีเหล้าไหอยู่ที่นั่น
วิถีชีวิตและอุปนิสัย ชาวภูไท มีภาษาพูดเป็นของตัวเอง เป็นภาษาที่สวยงามพูดจานุ่มนวลไพเราะ
อ่อนหวานโดยทั่วไป ประเพณีหลัก จะยกย่องลูกผู้ชายคนแรก (ลูกกก) ให้ดูแลพ่อแม่ และปกครองน้องๆ
แทนพ่อแม่เมื่อพ่อแม่ล้มหายตายจากไป แต่ถ้าลูกชายคนแรกไม่มีความเหมาะสม พ่อแม่ก็จะเลือกลูกชายคนสุดท้อง(ลูกหล้า) ให้เป็นหลักของครอบครัว ดูแลเลี้ยงดูพ่อแม่ยามแก่เฒ่าลักษณะฝากผีฝากไข้ ชาวภูไท
ชาวภูไท เป็นชนเผ่าที่มีความกตัญญู เคารพ นอบน้อม ต่อพ่อ แม่ บุพกรี อย่างสูง ในอดีตนั้นการับประทานอาหารหากพ่อแมู่่อยู่พร้้อมหน้าพร้อมตากัน ลูกๆจะให้เกียร์ติพ่อ เป็นคนลงมือรับประทานอาหารก่อน แล้วลูกๆก็จะลงมือรับประทานอาหารไปพร้อมกัน ยกเว้นเสียแต่ว่า พ่อหรือแม่ ไม่อยู่ออกไปทำธุระ หรือพ่อแม่ กำลังทำงานอยู่ไม่ว่างพอจะรับประทานร่วมกันในเวลานั้น พ่อจะเป็นผู้อนุญาตให้ลุกๆรับประทานอาหารไปก่อนโดยไม่ต้องรอพ่อ หรือแม่ ซึ่งการประพฤติ ปฏิบัติเช่นนี้ บ่งบอกถึงมารยาทอันดีงามและความกตัญญูอันสูงส่งต่อพ่อแม่ของชาวภูไท ครอบครัวจึงมีลักษณะเป็นครอบครัวใหญ่เป็นครอบครัวที่อบอุ่น ความสัมพันธ์ในครอบครัวแนบแน่นดังจะเห็นได้จากคำพูดระหว่างพ่อแม่ กับลูกๆ และกับพี่ๆน้องในครอบครัว จะไม่พูดคำหยาบ การพูดจา จะเรียกคำแทนผู้ที่พูดคุยด้วยว่า "โ่ต่" หรือ"โต๋" มีความหมายว่า "เธอ" จะใช้คำพูดเรียกแทนตัวเองว่า "เฮา" หมายถึง "เรา" ซึ่งชาวอีสานส่วนใหญ่จะใช้คำเหล่านี้ พูดเฉพาะกับเพื่อนที่สนิทเท่านั้น
ชาวภูไท ชอบอาศัยอยู่ในภูมิประเทศที่มีลักษณะภูเขาผสมที่ราบมีป่าไม้ รักธรรมชาติเพราะมีที่ดินอุดมสมบูรณ์ เหมาะที่จะทำมาหากินใช้ชีวิตเรียบง่าย มีความฉลาดหลักแหลม รักสงบ แต่มีความกล้าหาญสมเป็นนักรบในจิตวิญญาณของชาวภูไท ประเพณีดั้งเดิม นับถือผี นับถือไสยศาสตร์ ถือว่าผีเหล่านั้นเป็นผีปู่ ผีย่าิ มีการบ่วงสรวง เซ่นไหว้ ผีบรรพบุรุษยึดถือผีปู่ ผีย่าเป็นสรณะที่พึ่ง เมื่อเจ็บไข้ ก็จะพึ่งหมอเยาหรือ"หมอเย๋า" "เย๋า" เป็นสำเนียงภาษาภูไท การเยานั้นคือหมอเยาจะกระทำพิธีเรียกผีและป็นตัวกลางสื่อสารระหว่างผีผู้ตายหรือกับผีป่า ผีเขา หรือผีอื่นๆกับญาติผู้เจ็บป่วยว่า ผู้เจ็บป่วยกระทำกรรมไดที่ผิดมา หรือ คนในครอบครับไปกระทำสิ่งไดอันเป็นการล่วงเกิน ผิดประเพณี ไม่ถูกต้องตามประเพณีหรือใครคนไดคนหนึ่ง มากระทำสิ่งที่ไม่ดีล่วงเกิน ในครอบครัว ระหว่างที่หมอกระทำพิธีนั้น ญาติผู้เจ็บป่วยจะคอยถามหมอเยาซึ่งในขณะนั้นได้มีผีเข้าทรงหรือสิงในร่างหมอเยาแล้ว และญาติ ของคนป่วยก็จะคอยถามว่า มีเหตุอันไดถึงทำให้คนนั้นเจ็บป่วยต้องการสิ่งเซ่นไหว้ได ถ้าผีต้องการสิ่งได ญาติผู้ป่วยก็จะหามาเซ่นไหว้แต่ต้องมีข้อแม้ว่าเซ่นไหว้แล้ว คนป่วยจะต้องหายจากโรคภัยไข้เจ็บที่กำลังเป็นอยู่ ในปัจจุบันวัฒนธรรมนั้น ยังคงหลงเหลือ และปฏิบัติอยู่