ผ้าพื้นเมืองและเครื่องประดับ
1 10 แหล่งท่องเที่ยวยอดนิยม 20 ใหม่ ยูเทิร์นวัย หัวใจรีเทิร์น 2 แผ่นดิน 2 ล้อ 2 น่อง 3 แผ่นดิน 5 อันดับของโลก 600 ตัว 70 เส้นทางตามรอยพระบาท กรมส่งเสริมการเกษตร กรมอุทยานฯ กระตุ้นการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรุงเทพ กลองโบราณ กลองมโหระทึก กลุ่มสนุก กองทัพแพนด้า กังฟูแพนด้าภาคสาม การกีฬาแห่งประเทศไทย การแข่งขันเรือพายหางยาว การงาน การเงิน การเดินทาง การท่องเที่ยว การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ การท่องเที่ยวและกีฬา การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวอิสระ การส่งเสริมการท่องเที่ยว กาฬสินธุ์ 222 ปี ใต้ร่มพระบารมี กำหนดการ กีฬา เกม เกม RPG เกษตรกรรม เกาหลี เกาะที่น่าเที่ยวที่สุดของโลก เกาะบาหลี เกาะเสม็ด แก่งกะเบา ของขวัญปีใหม่ ของฝาก ข้อมูลทั่วไป ขาดแคลนคอล ข่าวท่องเที่ยว ข่าวทั่วไทย ข่าวทั่วไป ข่าวประชาสัมพันธ์ ข่าวเมืองมุก ข่าวเศรษฐกิจ ข่าวส่งเสริมการท่องเที่ยว ข่าวหนั ข่าวหนังใหม่ เขาค้อ เข้าฉายเดือนธันวาคม 2558 เขาเล่าว่า... แข่งขันจักรยาน แข่งเรือออกพรรษา คนเดียวก็เที่ยวได้ คนทำเทียน คนไทย ครอบครัว ความรัก ความหมาย ค่ายหนังใหม่ คาสิโน คิดส์ซาเนีย เครื่องดื่มตราช้าง เครื่องบิน โคนม โคราช งานกาชาด งานท่องไทยท่องโลก งานบุญส่วงเฮือ งานประเพณีแห่ปราสาทผึ้ง งานประเพณีไหลเรือไฟ งานวัด งานสมโภช จดทะเบียนสมรส จองโรงแรม จังหวัดกาญจนบุรี จังหวัดกาฬสินธุ์ จังหวัดขอนแก่น จังหวัดจันทบุรี จังหวัดชลบุรี จังหวัดเชียงราย จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดตรัง จังหวัดตราด จังหวัดนครพนม จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดน่าน จังหวัดบึงกาฬ จังหวัดบุรีรัมย์ จังหวัดปทุมธานี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดพิษณุโลก จังหวัดเพชรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์ จังหวัดแพร่ จังหวัดมหาสารคาม จังหวัดมุกดาหาร จังหวัดมุกาหาร จังหวัดแม่ฮ่องสอน จังหวัดยโสธร จังหวัดระยอง จังหวัดราชบุรี จังหวัดลำปาง จังหวัดเลย จังหวัดศรีสะเกษ จังหวัดสกลนคร จังหวัดสงขลา จังหวัดสตูล จังหวัดสุรินทร์ จังหวัดหนองคาย จังหวัดอำนาจเจริญ จังหวัดอุดรธานี จังหวัดอุตรดิตถ์ จังหวัดอุบลราชธานี จันทรสาขา จาพนม จุดชมวิว เจมส์จิ เจ้าชาย ฉลองวันเกิด เฉลิมฉลอง เฉลิมพระชนมพรรษา ชนเผ่ากะเิลิง ชนเผ่ากุลา ชนเผ่าข่า ชนเผ่าไทยกะโซ่ ชนเผ่าไทยย้อ ชนเผ่าไทยแสก ชนเผ่าไทยอีสาน ชนเผ่าผู้ไทย ชนเผ่าพื้นเมือง ชนเผ่าภูไท ชนะเลิศ ช่วยเหลือคนทั้งมวล ช็อปปิ้ง ชายหาดชะอำ ชิงถ้วยพระราชทาน ชินจัง เดอะ มูฟวี่ เช็คอิน เชียงใหม่มาราธอน โชคชะตา ซงจุงกิ ซื้อขายสินค้า เซ็นทรัล ไซปรัส ญี่ปุ่น ฐานวรพัฒน์ ดวงประจำวัน ดวงประจำสัปดาห์ ดอกซากุระ ดอนเมือง ดอยสุเทพ ดอยอินทนนท์ ด่านชายแดนมุกดาหาร ดูดวง เดอะสแปรช ต้นคริสต์มาส ตรุษจีน ตลาด ตลาด เนวี่ มาร์เก็ต ตลาดราตรี ตลาดอินโดจีน ตะเคียนยักษ์ ตะวันขึ้น ตั๋วหนัง ตัวอย่างหนัง ตั๋วออนไลน์ ต่างประเทศ ตามรอยศาสตร์พระราชา ตารางเวลาเดินรถ ตำบลคำอาฮวน ตีช้างน้ำนอง ตู้ไปรษณีย์ยักษ์ โตเกียวรีพอร์ตเตอร์/เดลิสตาร์ ถนนข้าวสาร ถวายอาลัย ถ่ายทอดสด ถ่ายทำหนัง ถ้ำฝ่ามือแดง ถึงคน..ไม่คิดถึง ททท. ทริปแอดไวเซอร์ ท่องเที่ยว ท่องเที่ยวชุมชน ท่องเที่ยวเชิงเกษตร ท่องเที่ยวทั่วไทย ท่องเที่ยววิถีเกษตร ท่องเที่ยววิถีความเป็นไทย ท่องเที่ยววิถีชุมชน ท่องเที่ยว วิถีไทย เก๋ไก๋ สไตล์ลึกซึ้ง ท่องเที่ยวหน้าฝน ทะเล ทะเลบัวแดง ทะเลหมอก ทัวร์ยุโรป ทัวร์ออฟแม่โขง ทางจักรยาน ทางหลวงหมายเลข12 ทิ้งขยะ ที่พัก ทุ่งดอกทานตะวัน ทุ่งดอกบัวแดง ทุ่งปอเทือง ทุ่งหญ้าคา ทูตการท่องเที่ยวของญี่ปุ่น เทศกาล เทศกาลดนตรี เทศกาลทุเรียน เทศกาลเที่ยวเมืองไทย 2559 เทศกาลสงกรานต์ เทศกาลสีสันตะวันออก เทอร์มินอล21 เทิดไท้องค์ราชัน เที่ยวช่วยไทย เที่ยวปีใหม่ เที่ยวเมืองรอง เที่ยวสนุก ทำเงินได้ เที่ยวไหนดี เที่ยวอีสานไปกับนครชัยแอร์ ไทย ไทยเที่ยวญี่ปุ่น ไทย-ลาว ไทยแลนด์ ช็อปปิ้ง เฟสติวัล ไทยใหญ่ ธันวาคม ธานีมไหศวรรย์ นกแอร์ นครชัยแอร์ นงนุชเธียเตอร์ น้องมะลิ นักท่องเที่ยวจีน นักท่องเที่ยวต่างชาติ นั่งสามล้อผ่อเมืองแป้ นาขั้นบันได นางงามกาฬสินธุ์ นางพญาเสือโคร่ง น้ำจวง น้ำตก น้ำตกคำชะอี น้ำตกตาดโตน น้ำตกบ๋าหลวง น้ำออกรู นิทรรศการ นิสสัน เนื้อเพลง แนะนำ แนะนำที่พัก แนะนำร้านอาหาร แนะนำสถานที่ท่องเที่ยว แนะนำหนังใหม่ ในหลวง บขส. บทความ บทความประชาสัมพันธ์ บทเพลง บริดจสโตน บริษัททั่วร์ บรีซ สปา บล็อกเกอร์ท่องเที่ยว บอลลูน บั้งไฟพญานาค บันเทิง บัวขาว บัญชาเมฆ บางปู บ้านใต้ไนท์บ็อก บ้านบางพลับ บ่าวอั๋น กฤษดา แสนเพชร บุคคลสำคัญ บุญบั้งไฟ บุญผะเหวต บูชาพระธาตุพนม บูมเมอแรง 89 โบรโม่ โบราณวัตถุ โบอิ้ง 747 ปฏิทินท่องเที่ยว ปตท. ประกวดภาพถ่าย ประกาศขายบ้านและที่ดิน ประติมากรรมรักแท้ ประตูน้ำ ประเทศจีน ประเทศญี่ปุ่น ประเทศไทย ประเทศเนปาล ประเทศบรูไน ประเทศลาว ประเทศเวียดนาม ประเทศอินโดนีเชีย ประเพณี ประวัติความเป็นมา ประวัติศาสตร์ ปราสาทพนมรุ้ง ปลูกป่าทดแทน ปั่นจักรยาน ปั่น-ชม-ชิม ปั่นสนุกปลุกวิถีไทย ป่าปงเปียง ปี 2559 ปีใหม่เที่ยวไหนดี เปรต อาบัติ โปรโมชั่น โปรโมทท่องเที่ยว ไป่ตู้ ผญา ผลไม้ ผลสำรวจ ผัดไทย ผามออีแดง ผีตาโขน ผู้ด้อยโอกาส ฝรั่งขายผัดไทย ฝรั่งเลี้ยงวัว พม่า พรจากฟ้า พระเจ้าองค์หลวง พระธาตุพนม พระนครคีรี พระพุทธรูป พระราชีนี พรีเซ็นเตอร์ท่องเที่ยว พลังปัญญา พลังศรัทธา พระธาตุพนม พัทยา พิพิธภัณฑ์ พิพิธภัณฑ์ชุมชนนาอุดม-โนนหนองหอ พิพิธภัณฑ์พญาคันคาก พุกาม เพชรบูรณ์คูณสุข เพลงมักสาวมุกดาหาร เพลงมุกดาสวรรค์ เพลงสาวมุกดาหาร เพลงสาวมุกดาหารยังรอ แพ็คเกจท่องเที่ยว แพพันไร่ ฟลาวเวอร์ดรีม ฟาร์มโชคชัย ฟุตบอลทีมชาติไทย ภาคตะวันออก ภาคเหนือ ภาคอีสาน ภาพที่คาดหวัง ภาพที่ได้พบจริง ภูทอก ภูไท ภูผาซาน ภูผาเทิบ ภูพานน้อย ภูมโนรมย์ ภูเรือ ภูลมโล ภูสระดอกบัว ภูสิงห์ ภูห้วยบง มรดกโลก มวยไทย มวยไทยไลฟ์ มวยไทยอาชีพดีเด่น มะนาว มาม่าชิงโชค มิสทัวริซึม มุกดาหาร นาคาราช เอฟซี มุกดาหาร-สะหวันนะเขต เมืองกวางโจว เมืองต้องห้าม พลาด เมืองท่องเที่ยวยอดนิยม เมืองไทยประกันชีวิต เมืองโปขระ เมืองเว้ เมืองสามหมอก แม่น้ำโขง แม่น้ำเจ้าพระยา เย็นทั่วหล้ามหาสงกรานต์ แยกแลกยิ้ม ร.9 รถโดยสาร รักเก่า เก่า ราคาเท่าไหร่ รัตติยาแจ่วฮ้อน รัตนโกสินทร์ ราชวงศ์จักรี ราชินีมุกดาหาร ร้านลาบ101 ร้านอาหารอีสาน ร้านฮอร์โมน (บางแสน) ราศรี รูปปั้นพญานาค รูปภาพ เรือพายหางยาว แรลลี่ โรงเรียนพระราชทานแห่งแรก โรงเรียนร่มเกล้า โรงแรม โรงแรมเครืออมารี โรงแรมเคียงพิมาน โรงแรมญี่ปุ่น โรงแรมเดอะ แกรนด์ หลวงพระบาง โรงแรม ริเวอร์ ซิตี้ มุกดาหาร โรงแรมริเวอร์ฟร้อนท์ โรงแรม Hop Inn โรงละคร โรแมนติกอีสาน ไร่ช่อฟ้า ลดค่าตั๋ว ลดราคา ล่องแก่ง ล่องเรือ ลอตเตอรี่ ลอนดอน ลอยประทีปมงคลชีวิต ละครเวที ลาซาดา ลายเส้น ลาว ลาสเวกัส ลำซิ่งผญา ลำผญา แลนด์มาร์ก แลนด์มาร์ค ไลฟ์สไตล์ วนอุทยานภูหมู วังน้ำเขียว วังพญานาค วังสายทอง วัฒนธรรม วัด วัดเชตวัน วัดต่างประเทศ วัดประยูร วัดป่าวิเวกวัฒนาราม วัดโพธิ์ วัดภูดานแต้ วัดมงคลจินดาราม วัดรอยพระพุทธบาทภูมโนรมย์ วัดรั้วเหล็ก วัดเวินไชยมงคง วัดศรีบุญเรือง วัดศรีมงคลใต้ วัดศรีสุมังค์วนาราม วัดสองคอน วัดอรุณ วันท่องเที่ยวโลก วันทูวัน คอนแทคส์ วันธรรมดาน่าเที่ยว วันผู้ไทโลก วันมวยไทย วันแม่ วันวาเลนไทน์ วันหยุดเทศกาล วันแห่งชัยชนะท้าวสุรนารี วาไรตี้ วาเลนไทน์ วิวาห์ใต้สมุทร เวียดนาม ไวรัสโคโรนา ศาลเจ้าพ่อเจ้าฟ้ามุงเมือง ศาลเจ้าแม่สองนางพี่น้อง ศาลหลักเมืองมุกดาหาร ศาลาพญานาค ศาสตร์พระราชา 9 หน้า ศิลปวัฒนธรรม ศิลปะ ศิลปะการต่อสู้ สกายสแกนเนอร์ สงกรานต์ สงกรานต์ยิ้ม ส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ สตาร์ วอร์ส สถานที่จัดงาน สถานที่ท่องเที่ยว สถานที่ท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ สถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยม สถานที่ท่องเที่ยวแห่งใหม่ สถานที่สำคัญ สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดมุกดาหาร สถานีรถไฟ ส.ป.ช.เฟส สยามพาร์คซิตี้ สวนสยาม สวนนงนุช สวนน้ำ สวนน้ำรามายณะพัทยา สวนน้ำวานานาวา สวนผึ้ง สวนอาหารนัดพบริมโขง สหมงคลฟิล์ม สะพานซูตองเป้ สะพานภูมิพล1 สะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 2 สายการบิน สายน้ำแห่งวัฒนธรรม สาวมุกดาหาร สำราญชายโขงโฮเทล สิ่งมหัศจรรย์ของโลกสัตว์เลี้ยง สิงหา พาแม่เที่ยว สีสันของชีวิตคุณ เส้นทางตามรอยพระบาท แสก หนองหาน หนังเกาหลี หนังจีน หนังใญ่วัดขนอน หนังสั้น หนังใหม่ หน้าฝน หน้าร้อน หน้าหนาว หมอเค้ก หม่ำ จ๊กม๊ก หมีแพนด้า หลวงปู่จาม มหาปุญโญ หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต หลวงปู่ลือ หลวงพระบาง หล่อทะลุม็อบ หวยเด็ด ห้วยสิงห์ หอแก้วมุกดาหาร หัวหิน หาดชะโนด หาดทรายแก้ว หาดน้ำก่ำ หาดมโนภิรมย์ หาดแห่ หาดใหญ่ หุ่นโคมไฟ แห่เทียนเข้าพรรษา แหล่งท่องเที่ยว แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร แหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม แหล่งท่องเที่ยวด้านกีฬา แหล่งท่องเที่ยวทางทะเล แหล่งท่องเที่ยวหน้าร้อน โหรสาวเจ้าเสน่ห์ ไหลเรือไฟ ออกพรรษา อะเมซิ่ง ไฟท์ อะลาดินดิ๊งด่อง อั่งเปา อันดับการทำเงิน อ่างเก็บน้ำลำพะยัง อาม่า อาลีบาบา อาลีเพย์ อาหาร อาหารถิ่นต้องห้ามพลาด อาหารทะเล อำเภอ อำเภอคำชะอี อำเภอดงหลวง อำเภอดอนตาล อำเภอธาตุพนม อำเภอนิคมคำสร้อย อำเภอพบพระ อำเภอเมือง อำเภอเมืองมุกดาหาร อำเภอแม่แจ่ม อำเภอแม่สอด อำเภอหนองสูง อำเภอหว้านใหญ่ อุตสาหกรรมไมซ์ อุทยานบึงบัว อุทยานราชภักดิ์ อุทยานสมเด็จย่า อุทยานแห่งชาติ เอกลักษณ์ไทย เอนามิ ไดจิโร่ เอสโฟร์เอส การ์ด แอดเวนเจอร์ โอโซ่ พัทยา โอท็อบ โฮงมูนมัง โฮเทล อาเซียน โฮมสเตย์ Abstract Portrait AEC air taxi Amazing Thailand Application M Help Me bike for dad Boomerang Kids Card cartoon cover dance Deadstock รักเก่าเก่า Detective Chinatown Duty Free expedia Featured G20 Game RPG Garin X Guardian GDH 559 Gods of Egypt google Hotel hotel.com hotels.com Japan expo in Thailand Japan expo in Thailand 2016 Japan expo in Thailand 2017 Khao Kho The Wonder of Love 2 kingsman Las Vegas Lazada Lifelines Lost in Thailand LOVE EN ROUTE Luxury Wellness Retreat Memory Through Time MIAMI BAY SIDE MICE Moves Mobile Special Deal Mukdahan Museum OLE777 on the beach otop Ouick Response Code:QR Code Paulo Grangeon picture Pokemin Go Province Ride to Khong’s Legendary River City Hotel Mukdahan Riverfront Mukdahan s4s sale sez sf Skyscanner Songkran festival Star Wars sway Thailand International Film Destination Festival 2015 Thailand Shopping Festival Thailand Tourism Gateway The Force Awakens The Nightmare คืนผีอำ The Splash Water Park The Venetian Macao the wolf topten Tour of Mekong TripAdvisor truemove h UNDP UNWTO ver Veteran ขอโทษที! ปืนพี่มันลั่น! video wanderlust Water Festival World Luxury Hotel Awards 2018 XxX: State of the Union Youtube Mini-Series & Music Campaign

ชนเผ่าไทยอีสาน

ชนเผ่าไทยอีสาน



            ไทยอีสาน  เป็นประชากรกลุ่มใหญ่ของจังหวัดมุกดาหาร  เช่นเดียวกับชาวไทยอีสานในจังหวัดอื่น ๆ ในภาคอีสานอีกหลายจังหวัด ชาวไทยอีสานได้สืบเชื้อสาย ต่อเนื่องกันมานานนับหลายพันปี ตั้งแต่ขุนบรมปฐมวงศ์ของเผ่าไทย ตั้งแต่อาณาจักรน่านเจ้าอาณาจักรล้านช้างจนถึงสมัยกรุงศรีอยุธยา
ตอนปลาย ชาวไทยอีสานได้อพยพลงมาตามลำน้ำโขงตั้งแต่ พ.ศ.2231 (สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช) เมื่อท่านพระครูโพนเสม็กนำสานุศิษย์จากอาณาจักรล้านช้างอพยพลงมาตามลำน้ำโขงแล้วแผ่ขยายออกไปตามลำน้ำมูล ลำน้ำชี และลำน้ำอื่น ๆ ซึ่งแยกออกจากแม่น้ำโขง ตั้งเป็นเมืองต่าง ๆ เมืองมุกดาหารได้ตั้งขึ้นเป็นเมืองเมื่อพ.ศ.2313 ในสมัยกรุงธนบุรี  พูดภาษาไทย-ลาว (ภาษาอีสาน) เป็นกลุ่มผู้นำทางด้านวัฒนธรรมภาคอีสาน  เช่น  ฮีต  คอง  ตำนาน  อักษรศาสตร์  จารีตประเพณี  นิยมตั้งหมู่บ้านเป็นกลุ่ม  บนที่ดอนเรียกตามภาษาท้องถิ่นว่า "โนน" ยึดทำเลการทำนาเป็นสำคัญ  อาศัยอยู่ทั่วไป


            ชาวไทยอีสาน ในดีตกาลนั้น เป็นักตู้สู้ชีวิต สู้ทั้งกับภัยธรรมชาติ โรคภัยไข้เจ็บ เพราะผืนดิน
อีสานเป็น ภาคที่ใหญ่ที่สุดของประเทศไทย การดูแลทางด้านสุขอนามัย ของทางภาครัฐ ไม่ค่อยทั่วถึง และหลายพื้นที่ในอดีตเป็นป่าดงดิบอยู่ห่างไกล ความเจริญ


            บุคคลิกและอุปนิสัย โดยเอกลักษณ์ นิสัยใจคอของชาวอีสานในอดีตส่วนใหญ่แล้ว เป็นคนเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ดังจะเห็นได้ในหมู่บ้านของชาวอีสานจะมีซุ้มเล็กๆหรือเพิงเล็กๆปลูกไว้หน้าบ้านในซุ้มหรือเพิงเล็กๆนั้นจะมีตุ่มน้ำเย็นใสสะอาดพร้อมกระบวย ไว้ให้แขกต่างบ้าน หรือใครที่เดินผ่านไปมาได้ตักดื่มกินแก้กระหาย
            คนอีสาน เป็นกันเอง กับทุกคน เป็นคนจริงใจ ให้ความไว้วางใจไว้เนื้อเชื่อใจคนง่าย เพราะคนอีสานในอดีต จะเป็นชนที่ไม่ชอบพูดโกหก หรือพูดปดมดเท็จ ซื่อสัตย์ ปฏิบัติตามศีลห้าค่อนข้างจะเคร่งครัดในศีลธรรม ถ้าใครคนหนึ่งบอกกล่าวหรือเล่าอะไร ก็จะเชื่อตามไปเกือบทั้งหมด นี่เป็นสาเหตุหนึ่งของชนชาวอีสานในอดีตที่มักจะถูกหลอกลวงง่าย เพราะเชื่อว่าทุกคนให้ความจริงใจต่อกันและกัน ทำให้มิจฉาชีพบางกลุ่มอาศัยจุดนี้หลอกลวง ทำมาหากินบนความซื่อของชนชาวไทยอีสานมานักต่อนัก
            เอกลักษณ์เด่น อีกอย่างหนึ่งของชาวอีสานคือเป็นน้อมน้อมถ่อมตน มีความกตัญญูสูง ให้ความเคารพนับถือต่อบุพการีให้ความเครพผู้มีพระคุณและผู้สูงอายุเป็นอย่างมาก จะได้ยิน ผู้มีอายุน้อยกว่าเรียกผู้สูงอายุในเกือบทุกพื้น ที่ว่า "พ่อคุณ" "แม่คุณ" คำว่า"คุณ" ที่ใ้ช้่เรียกชื่อผู้สูงอายุแทนการเรียกชื่อ กับคนที่รู้จักและไม่รู้จัก มีความหมายว่า "ผู้มีพระคุณ" คนอีสาน ระลึกเสมอว่า ผู้สูงอายุ เป็นผู้มีพระคุณต่อทุกคน เพราะผู้สูงอายุเป็นผู้มีประสบการ์ืการดำรงชีวิต และเป็นผู้ถ่ายทอดวิชาความรู้ให้ชนรุ่นหลัง เสมอมา
           ชาวอีสาน เป็นชนที่ให้ความเคารพนับถือและปฏิบัติตน เป็นพุทธมามะกะที่ดียึดถือปฏิบัติมาตั้งแต่ในอดีตจนมาถึงปัจจุบันดังจะเห็นได้จากการ ทุกเทศกาลสำคัญของไทย ชนชาวไทยอีสานจะตั้งกองกฐิน ผ้าป่าไปทอดถวายพระที่บ้านเกิด เพื่อนำรายได้ไปสร้างวัดและบูรณะ ปฏิสังขร วัดวาอารามต่างๆที่บ้านเกิดเมืองนอน ของตนเองเป็นเนืองนิจ คนอีสานเมื่อไปเยี่ยมเยี่ยนเพื่อนบ้านต่างถิ่น สิ่งแรกที่จะมองหานั่นคือวัดวาอารามหากหมู่บ้าน แห่งหนตำบลได มีวัดวาอาราม และพระอุโบสถ( สิม )สวยงดงาม จะเป็นที่เชิดหน้าชูตาของหมู่บ้านนั้นๆ
           ความเชื่อ คนอีสานในอดีตกาลนั้น เนื่องจากเป็นพื้นที่กว้างใหญ่ ไกปืนเที่ยง การดูแลทางด้านสุขอนามัยเป็นไปอย่างไม่ทั่วถึง เมื่อเจ็บไข้ได้ป่วย คนอีสานจึงหันไปเพิ่งภูตผี คนอีสานนั้นเชื่ิอในเืรื่อง ผี เป็นทุนเดิมไม่ว่าจะเป็นผี ของปู่ ย่า ตา ยาย ผีป่า ผีเขา ผีปอบ ฯลฯ ในทุกวันนี้ความเชื่อในเรื่องผี ของชาวอีสานนั้นยังมีอยู่ยากที่จะลบล้างในความเชื่อนั้น ในขณะเดียวกันบนความเชื่อนั้นนอกจากจะเป็นการเตือนสติ ไม่ให้ประพฤติผิดปฏิบัติชั่วแล้ว ยังทำให้เกิดประเพณที่ดีงาม งานบุญต่างๆมากมาย กับคนอีสาน



เรื่องถิ่นเดิมของชาติพันธุ์ลาวมีแนวคิด 2 อย่าง ซึ่งก็มีเหตุผลสนับสนุนพอ ๆ กันคือ
          1. ถิ่นเดิมของลาวอยู่ที่อีสานนี่เอง ไม่ได้อพยพมาจากไหน ถ้าเหมาว่าคนบ้านเชียงคือลาว ก็แสดงว่าลาวมาตั้งหลักแหล่งที่บ้านเชียงมากกว่า 5600 ปีมาแล้ว เพราะอายุหม้อบ้านเชียงที่พิสูจน์โดยวิธีคาร์บอน 14 บอกว่าหม้อบ้านเชียงอายุเก่าแก่ถึง 5600 ปี กว่าคนบ้านเชียงจะเริ่มตีหม้อใช้ในครัวเรือน ก็ต้องสร้างบ้านเรือนอยู่อาศัยก่อนหน้านั้นแล้ว แนวความคิดนี้ยังบอกอีกว่านอกจากลาวจะอยู่อีสานแล้ว ยังกระจายไปอยู่ที่อื่นอีก เช่น เวียดนาม จีน ญี่ปุ่น ยุโรป แล้วข้ามไปอเมริกาเป็นพวกอินเดียนแดง
          2. ถิ่นเดิมของลาวอยู่ที่อีสานและมีมาจากที่อื่นด้วย (อภิศักดิ์ โสมอินทร์. 2540 : 69) แนวคิดนี้เชื่อว่า คนอีสานน่าจะมีอยู่แล้วในดินแดนที่เรียกว่า “อีสาน” หรือส่วนหนึ่งของสุวรรณภูมิ โดยประมาณ 10,000.- ปีที่ผ่านมา นักมานุษยวิทยา และนักประวัติศาสตร์ได้สันนิษฐานว่าได้มีการอพยพของพวกละว้า หรือข่าลงมาอยู่ในแดนสุวรรณภูมินับเป็นคนพวกแรกที่เข้ามา พอเข้ามาอยู่สุวรรณภูมิก็แบ่งเป็นอาณาจักรใหญ่ ๆ 3 อาณาจักร คือ อาณาจักรทวารวดี ซึ่งมีนครปฐมเป็นราชธานี มีอาณาเขตถึงเมืองละโว้(ลพบุรี) อาณาจักรที่สองคือโยนก เมืองหลวงได้แก่เมืองเงินยาง หรือเชียงแสน มีเขตแดนขึ้นไปถึงเมืองชะเลียงและเมืองเขิน อาณาจักรที่สามคือโคตรบูร ได้แก่บรรดาชาวข่าที่มาสร้างอาณาจักรในลุ่มน้ำโขง มีเมืองหลวงอยู่ที่เมืองโคตรบูรณ์ ซึ่งอยู่ทางฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขงจากแนวคิดที่ 2 จะเห็นว่าในคำรวมที่นักมานุษยวิทยา และ นักประวัติศาสตร์เรียกว่า “คนอีสาน” นั้นน่าจะมีคนหลายกลุ่มหลายชาติพันธุ์ปะปนกันอยู่และในหลายกลุ่มนั้นน่าจะมีกลุ่มชาติพันธุ์ “ลาว”อยู่ด้วย ซึ่งสอดคล้องกับหลักฐานจากงานเขียนของนักวิชาการบางคนที่กล่าวว่า หลังจากพวกละว้าหรือพวกข่าหมดอำนาจลง ดินแดนอีสานก็ถูกครอบครองโดยขอมและอ้ายลาว ต่อมาขอมก็เสื่อมอำนาจลง ดินแดนส่วนนี้จึงถูกครอบครองโดยอ้ายลาวมาจนถึงปัจจุบัน ถ้าเป็นอย่างนี้จริงจึงกล้าสรุปได้ว่า “อ้ายลาว” ก็คือกลุ่มชาติพันธุ์ลาวนั่นเอง อ้ายลาวเป็นสาขาหนึ่งของมองโกลเดิม อยู่ทางตอนบนของแม่น้ำแยงซีเกียงและแม่น้ำเหลือง ก่อนที่จะอพยพเข้าครอบครองอีสานนั้นได้รวมตัวกันตั้งเมืองสำคัญขึ้น 4เมือง คือ นครลุง นครเงี้ยว และนครปา ต่อมากลุ่มอ้ายลาวเกิดสู้รบกับจีน สาเหตุเพราะจีนมาแย่งดินแดน อ้ายลาวสู้จีนไม่ได้จึงอพยพลงใต้ถอยร่นลงมาเรื่อย ๆ จนกระทั่งมาตั้งอาณาจักรอยู่บริเวณยูนานในปัจจุบัน มีเมืองแถนเป็นศูนย์กลางสำคัญ แต่ก็ยังถูกรุกรานแย่งชิงจากจีนไม่หยุดหย่อน อ้ายลาวจึงอพยพลงมาตั้งอาณาจักรใหม่อีก คือ อาณาจักรหนองแส มีขุนบรมวีรบุรุษผู้ยิ่งใหญ่ของอ้ายลาวเป็นผู้ปกครองขุนบรมขึ้นครองราชย์ พ.ศ.1272 ได้รวบรวมผู้คนเป็นปึกแผ่น และส่งลูกหลานไปครองเมืองต่าง ๆ ในบริเวณนั้นลูกหลานที่ส่งไปครองเมืองมี 7 คน คือ
          1. ขุนลอ ครองเมืองชวา คือ หลวงพระบาง
          2. ขุนยีผาลาน ครองเมืองหอแตหรือสิบสองพันนา
          3. ขุนสามจูสง ครองเมืองปะกันหรือหัวพันทั้งห้าทั้งหก
          4. ขุนไขสง ครองเมืองสุวรรณโดมคำ
          5. ขุนงัวอิน ครองเมืองอโยธยา (สุโขทัย)
          6. ขุนลกกลม ครองเมืองมอญ คือ หงสาวดี
          7. ขุนเจ็ดเจือง ครองเมืองเชียงขวางหรือเมืองพวนพี่น้องอ้ายลาวทั้ง 7 ปกครองบ้านเมืองแบบเมืองพี่เมืองน้องมีอะไรก็ช่วยเหลือเจือจุนกันโดยยึดมั่นในคำสาบานที่คำสัตย์ปฏิญาณร่วมกันว่า “ไผรบราแย่งแผ่นดินกันขอให้ฟ้าผ่ามันตาย”สำหรับ กลุ่มอ้ายลาวนี้น่าจะเกี่ยวโยงเป็นกลุ่มเดียวกับคนชาติพันธุ์ลาวในอีสาน น่าจะเป็นกลุ่มลาวเชียงและลาวเวียง คือ กลุ่มจากอาณาจักรล้านนา (ลาวเชียง) และกลุ่มจากอาณาจักร ล้านช้าง (ลาวเวียง) ในพุทธศตวรรษที่ 17-18 เริ่มตั้งแต่สร้างเมืองชวาหรือเมืองหลวงพระบาง มีกษัตริย์ปกครองติดต่อกันมาถึง 22 องค์ กษัตริย์องค์หนึ่งคือพระเจ้าเงี้ยว ได้กำเนิดลูกชายคือพระเจ้าฟ้างุ้ม พระเจ้าฟ้างุ้ม เกิดมามีฟันเต็มปาก เสนาอำมาตย์ในราชสำนักเห็นเป็นอาเพศจึงทูลให้พระบิดานำไป “ล่องโขง” คือลอยแพไปตามลำน้ำโขง มีพระเขมรรูปหนึ่งพบเข้าเกิดเมตตาเอาพระเจ้าฟ้างุ้มไปชุบเลี้ยงจนเติบใหญ่แล้วถวายตัวในราชสำนักเขมรพระเจ้าฟ้างุ้มได้รับการศึกษาอบรมอย่างองค์ชายเขมร และทรงเป็นราชบุตรเขยของกษัตริย์เขมรด้วย เมื่อพระเจ้าฟ้าเงี้ยวสิ้นพระชนม์ เจ้าฟ้าคำเสียวผู้เป็นน้องชายขึ้นครองราชย์แทน พระเจ้าฟ้างุ้มจึงยกทัพจากเขมรทวงราชสมบัติของบิดาคืน สามารถโจมตีเมืองหลวงพระบางได้ เจ้าฟ้าคำเลียวเสียทีแก่หลานสู้ไม่ได้ น้อยใจจึงกินยาพิษตาย เจ้าฟ้างุ้มจึงขึ้นครองเมืองหลวงพระบางเมื่อ พ.ศ. 1896 ทรงพระนามว่า “พระยาฟ้างุ้มแหล่งหล้าธรณี” พระเจ้าฟ้างุ้มเป็นกษัตริย์ที่มีพระปรีชาสามารถมาก เป็นนักรบผู้กล้าหาญชาญฉลาด ในช่วงนั้นอาณาจักรสุโขทัยมีพระมหาธรรมราชาลิไทเป็นกษัตริย์ พระเจ้าฟ้างุ้มได้ขยายอำนาจแผ่ไปถึงญวน ลงมาถึงส่วนหนึ่งของเขมรตอนล่างและเข้ามาสู่ดินแดนอีสานได้อพยพผู้คนจากเวียงจันทน์มาอยู่บริเวณเมืองหนองหาน และหนองหานน้อยประมาณ 10,000 คน พระเจ้าฟ้างุ้มครองราชย์และแผ่แสนยานุภาพเรื่อยมาจนถึงสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) แห่งกรุงศรีอยุธยา พระเจ้าฟ้างุ้มคิดแผ่แสนยานุภาพเข้าครอบครองกรุงศรีอยุธยา ทำให้พระเจ้าอู่ทองต้องเจรจาหย่าศึกโดยอ้างความเป็นญาติร่วมวงศ์ขุนบรมเดียวกันว่า “เฮาหากแมนอ้ายน้องกันมาแต่ขุนบรมพุ้น หากเจ้าเป็นลูกหลานขุนบรมจริง เฮาอย่ามารบราฆ่าฟันกันเลย ดินแดนส่วนที่อยู่เลยดงสามเส้า (ดงพญาไฟ ไปจดภูพระยายาฝอและแดนเมืองนครไทยให้เป็นของเจ้า ส่วนที่อยู่เลยดงพญาไฟลงมาให้เป็นของข้อย แล้วจัดส่งลูกสาวไปจัดที่อยู่ที่นอนให้” (ทองสืบ ศุภมารค: อ้างใน สมเด็จพระสังฆราชลาวง2528:43)พระเจ้าอู่ทองยัง ได้ส่งช้างพลาย 51 เชือก ช้างพัง 50 เชือก เงินสองหมื่น นอแรดแสนนอ กับเครื่องบรรณาการอื่น ๆ อีกอย่างละ 100 ให้แก่พระเจ้าฟ้างุ้ม จากหลักฐานนี้อาณาจักรลานช้างจึงมีอำนาจครอบครองดินแดนอีสาน ยกเว้นเมืองนครราชสีมาที่ยังคงเป็นอิสระอยู่เพราะในหนังสือ “ King of Laos ” ระบุว่าในปี ค.ศ. 1385 อาณาเขตกรุงล้านช้างทางทิศตะวันตกติดต่อกับโคราช(นครราชสีมา) ดินแดนอีสานส่วนใหญ่ตกอยู่ในอำนาจของพระเจ้าฟ้างุ้มเรื่อยมาจนถึงสมัยพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช (ลาวเขียนไชยเสฏฐามหาราช) ขึ้นครองราชย์ระหว่าง พ.ศ.2091-2114 ได้ย้ายเมืองหลวงจากหลวงพระบางมาอยู่เวียงจันทน์ พระองค์ได้ทำสัญญาพันธมิตรกับสมเด็จพระมหาจักรพรรดิแห่งกรุงศรีอยุธยา และทั้งสองได้สร้างพระธาตุศรีสองรัก ที่อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย เป็นเขตแดนระหว่างสองอาณาจักร กษัตริย์องค์นี้ได้สร้างวัดองค์ดื้อ และศาสนสถานต่าง ๆ ในเขตเมืองหนองคาย และบูรณะพระธาตุพนมด้วย จึงอาจกล่าวได้ว่า พระเจ้าไชยเชษฐาธิราชสนใจดินแดนฝั่งขวาแม่น้ำโขงมากกว่าสมัยก่อน ๆ ต่อมาในปี พ.ศ. 2250กิดการแก่งแย่งอำนาจขึ้นในลาว ทำให้ลาวถูกแบ่งออกเป็น 2 อาณาจักร มีหลวงพระบางและเวียงจันทน์เป็นศูนย์กลาง และในปี พ.ศ. 2256าเขตเวียงจันทน์ทางใต้ได้ถูกแบ่งแยกโดยเจ้าสร้อยศรีสมุทรพุทธางกูร (เจ้าหน่อกษัตริย์) มีเมืองนครจำปาศักดิ์เป็นเมืองหลวง ผู้ครองนครจำปาศักดิ์ได้ส่งจารย์แก้ว (เจ้าแก้วมงคล) มาเป็นเจ้าเมืองท่งหรือเมืองทุ่ง ในเขตอำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด นับว่านครจำปาศักดิ์ได้ขยายอำนาจเข้ามาสู่ลุ่มแม่น้ำมูล – ชี ตอนกลาง เวลาต่อมาลูกหลานเจ้าเมืองท่งหรือเมืองสุวรรณภูมิได้สร้างเมืองต่าง ๆ ในดินแดนอีสานมากกว่า 15  เมือง   (อภิศักดิ์ โสมอินทร์. 2540 : 71) เช่น สุวรรณภูมิ ร้อยเอ็ด ศรีสะเกษ มหาสารคาม ชนบทขอนแก่น ฯ ล ฯต่อมาเกิดความไม่ลงรอยแตกแยกกัน ระหว่างกลุ่มขุนนางและกษัตริย์ลาวผู้คนได้อพยพหนีภัยการเมืองจากฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงเข้าสู่อีสานเหนือ กลุ่มสำคัญได้แก่

กลุ่มเจ้าผ้าขาว โสมพะมิตร
        กลุ่มนี้อพยพผู้คนมาตั้งอยู่ริ่มน้ำปาว คือ บ้านแก่งส้มโฮง (สำโรง) เจ้าโสมพะมิตรได้เข้าเฝ้ารัชกาลที่ 1ที่กรุงเทพ ฯ เพื่อถวายความจงรักภักดี และเนื่องจากมีกำลังคนถึง4,000 คน รัลกาลที่ 1 จึงโปรดเกล้าให้ยกบ้านแก่งส้มโฮงเป็นเมืองกาฬสินธุ์ขึ้นตรงต่อกรุงเทพและเจ้าโสมพะมิตรได้รับบรรดาศักดิ์เป็น “พระยาไชยสุนทร” เจ้าเมืองกาฬสินธุ์

กลุ่มพระวอพระตา
       พระวอพระตาเป็นเสนาบดีลาว เกิดขัดใจกษัตริย์เวียงจันทน์ อพยพผู้คนข้ามโขงมาอยู่ที่หนองบัวลุ่มภูซึ่งเป็นเมืองอยู่ก่อนแล้ว ตั้งชื่อเมืองว่า “นครเขื่อนขันฑ์กาบแก้วบัวบาน” แต่ได้ถูกกองทัพลาวตามตีจนพระตาตายที่รบ ส่วนพระวอได้พาบริวารไพร่พลหนีลงไปตามลำแม่น้ำโขงจนถึงดอนมดแดง และต่อมาลูกหลานของพระวอได้ขอตั้งเป็นเมืองอุบลราชธานี และเมืองยโสธร

กลุ่มท้าวแล
      ท้าวแลและสมัครพรรคพวกได้อพยพหนีภัยการเมืองจากเวียงจันทน์ มาอยู่ในท้องที่เมืองนครราชสีมา ต่อมาได้ย้ายไปทางตอนเหนือแล้วขอตั้งเป็นเมืองชัยภูมิ ท้าวแลได้รับโปรดเกล้าให้เป็นเจ้าเมือง มีบรรดาศักดิ์ว่า “พระภักดีชุมพล” ต่อมาได้เลื่อนเป็น “พระยาภักดีชุมพล”การตั้งบ้านเมืองในดินแดนอีสานตั้งแต่พุทธศตวรรษ 24-25 หรือตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย จนถึงสมัยรัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ มีเมืองต่าง ๆ เกิดขึ้นมากกว่า 100 เมือง มีแบบแผนการปกครองตามแบบหลวงพระบาง เวียงจันทน์ และจำปาศักดิ์คือมีตำแหน่งอาชญาสี่คือ เจ้าเมือง อุปฮาด ราชวงศ์ ราชบุตร ส่วนเมืองในเขตอีสานใต้คือนครราชสีมาและหัวเมืองเขมรป่าดง ได้ใช้แบบแผนการปกครองแบบกรุงเทพ ฯ คือมีเจ้าเมือง ปลัดเมือง ยกกระบัตรเมือง และผู้ช่วยราชการเมืองจากหลักฐานของลาวสามารถหาได้กลุ่มชาติพันธุ์ลาว ได้ตั้งถิ่นฐานอยู่ในอีสานมานานแล้ว จึงสรุปได้ว่า คนในท้องถิ่นอีสาน หรือบริเวณนี้เป็นเชื้อสายลาว ซึ่งมีประวัติความเป็นมายาวนาน สืบทอดสายธารทางประวัติศาสตร์อย่างต่อเนื่องจากอดีตจนถึงปัจจุบัน และตลอดไปในอนาคตอีกนานเท่านาน

วัฒนธรรมการแต่งกาย
            เผ่าไทยลาว(ไทยอีสาน) นิยมผ้าฝ้ายมาแต่เดิม และพัฒนาผ้าฝ้ายเป็นการทอผ้ามัดหมี่ลวดลายต่าง ๆ แหล่งผ้าฝ้ายที่มีมานานแล้วคือกลุ่มบ้านวาใหญ่ อำเภออากาศอำนวยจังหวัดสกลนคร ซึ่งมีชื่อเสียงในการทอผ้าย้อมสีธรรมชาติจากเปลือกไม้ ใบไม้ แก่นไม้ผ้าซิ่นแขนกระบอกผ้ายย้อมคราม หรือมัดหมี่ เป็นที่นิยมของชนเผ่าไทยลาวกลุ่มที่แต่งกายแบบดั้งเดิมจริง ๆ นิยมแต่งด้วยผ้าย้อมครามทั้งเสื้อและผ้าซิ่น แต่ไม่สวยเด่นเท่าผ้ามัดหมี่ เพราะมีสีดำมือทั้งตัว การพัฒนาการของการทอผ้ามัดหมี่ ทำให้ไทยลาวในปัจจุบันสามารถทอผ้าลายหมี่คั่นหลายสี เช่น สีเหลือง สีแดง และนิยมสีฉูดฉาด นอกจากนี้ชาวเผ่าไทยลาวยังนิยมทอผ้าห่ม ผ้าจ่องลวดลายสวยงาม ซึ่งสามารถปรับแต่งมาเป็นผ้าสไบโชว์ลวดลายของผ้าประกอบเสื้อผ้าได้เป็นอย่างดี เครื่องประดับของชาวเผ่าไทยลาวนิยมเครื่องเงินเช่นเดียวกับกลุ่มอื่น ผ้าซิ่น ในขณะที่เอกลักษณ์ของกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ กลุ่มผู้ไทย กลุ่มย้อ กลุ่มกะเลิง แต่เดิมนิยมผ้าซิ่นมีเชิงในตัวที่เรียกว่า ซิ่นตีนเต๊าะ แต่เผ่านี้กลับนิยมซิ่นไม่มีเชิงทั้งที่เป็นผ้าเข็น(ทอ) และผ้ามัดหมี่ฝ้าย หรือไหม
             เสื้อ แบบเสื้อของชนเผ่าไทยลาว แม้เสื้อจะเป็นเสื้อย้อมสีน้ำเงินแก่ แบบเสื้อคล้ายกับชนเผ่าอื่น ๆ แต่เนื่องจากเป็นชนเผ่าที่กระจายอยู่ในที่ต่าง ๆ และรับเอาวัฒนธรรมจากภาคกลางได้รวดเร็วจึงทำให้เผ่าไทยลาวมีแบบเสื้อแตกต่างไปจากชนเผ่าอื่น ๆ บ้าง   เช่น เสื้อแขนกระบอก คือทอจากผ้าแพรตกแต่งให้มีจีบมีระบาย สวมสร้อยที่เป็นรัตนชาติ เช่น มุก มากกว่าการสวมสร้อยเงิน สอดชายเสื้อในซิ่นหมี่ไหม คาดด้วยเข็มขัดเงิน จุดเด่นอีกประการหนึ่งของชนเผ่าไทยลาว คือการนิยมผ้าขะม้าทั้งชายและหญิง ผ้าขะม้า(ขาวม้า) ที่งดงามคือผ้าใส่ปลาไหล มีสีเขียว-แดง-เหลือง ตามแนวยาวไม่ใช่เป็นตาหมากรุก ซึ่งเป็นผ้าสมัยใหม่ ผ้าใส่ปลาไหลสามารถคัดแปลงเป็นผ้าคล้องคอ ผ้าสไบของสตรีในการเสริมการแต่งกายให้งดงามขึ้น

ที่่มาข้อมูล :
www.hellomukdahan.com
www.baanjomyut.com

[facebook][blogger]

Author Name

ฟอร์มรายชื่อติดต่อ

ชื่อ

อีเมล *

ข้อความ *

ขับเคลื่อนโดย Blogger.