ถ้ำฝ่ามือแดง จังหวัดมุกดาหาร
เป็นถ้ำที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์อีกแห่งหนึ่ง ภายในถ้ำมีภาพจิตกรรมก่อนประวัติศาสตร์ของมนุษย์โบราณถ้ำแห่งนี้ตั้งอยู่บริเวณพื้นที่ของภูอ่างบก ซึ่งมีทิวเขาติดต่อกับภูคำหมากมี่ เยิ้องออกไปทางทิศตะวันออกของบริเวณพื้นที่ของบ้านส้มป่อย ตำบนาสีนวน อำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหารออกไปตามถนนสายมุกดาหาร ดอนตาลอยู่ระหว่างหลักกิโลเมตรที่ 8-9 เลี้ยวขวาแยกเข้าไปถึงห้วยสิงห์ประมาณ 1.5 กิโลเมตร เดินออกจากอ่างเก็บน้ำห้วยสิงห์ ขึ้นไปอีกประมาณ 1.5 กิโลเมตรก็มาถึงถ้ำฝ่ามือแดง
ลักษณะทั่วไปของถ้ำฝ่ามือแดง
ด้านบนมีลักษณะเป็นเพิงหิน ยาวยื่นออกมาประมาณ 6 เมตร ยาวประมาณ 60 เมตรบนผนังถ้ำมีรอยฝ่ามือ อยู่ประมาณ 10 ภาพ ซึ่งสองภาพมีลักษณะเอามือจุ่มสี หรือทาบนฝ่ามือแล้ววางทาบลงฝ่าผนังถ้ำ อีก 4 ภาพ เป็นการเอามือวางทาบบนฝ่าผนังและพ่นสีรอบๆตามฝ่ามือนั้นๆ และอีก 4 ภาพเป็นรูปสีแดงเทา และยังมีรูปคนยืนที่เขียนด้วยสีแดง 6 คน
ภาพชุดนี้ 4 คนอยู่ผนังถ้ำด้านบน ห่างจากพื้นประมาณ 5 เมตร อีก 2 ภาพ ห่างจากพื้นถ้ำประมาณ 45 เซ็นติเมตรรูปคนสูงประมาณ 30 เซ็นติเมตรและยังมี ถาพสัตว์อีก 2 ภาพ เป็นภาพสัตว์ 4 เท้าสีจางๆลงไปบ้างแล้ว และมีอีกภาพหนึ่งที่มีลักษณะคล้ายลิง หรือภาพวิญญาณที่คนในสมัยนั้นนับถือ ทางด้านทิศ
ตะวันตกของถ้ำมีภาพคน ลักษณะเหมือนกำลังวิ่งหรือตามล่าสัตว์
ในปี พ.ศ.2525 จากการสำรวจของกรมศิลปากรได้พบภาพเขียนอีกหนึ่งแห่งอยู่ในบริเวณเดียวกันกับถ้ำฝ่ามือแดง ห่างกันประมาณ 40 เมตร มีช่องแคบๆเดินเท้าถึงกันไปทางทิศตะวันออก บนหน้าผาผนังถ้ำมีรูปฝ่ามือแดงเทาและรูปฝ่ามือแดงจางๆ แทบมองไม่เห็น 4 รูป สูงจากพื้นประมาณ 1.5 เมตร ซึ่งมีแห่งเดียวในโลก เรียกว่า ถ้ำฝ่ามือแดง ณ บริเวณหลังถ้ำแห่งนี้เป็นเพิงหินหว้างยื่นออกไปทางหน้าผาเหมาะสำหรับชมวิวทิวทัศน์
ที่ตั้ง
บ้านส้มป่อย ตำบลนาสีนวล อำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร
พิกัดทางภูมิศาสตร์
เส้นรุ้งที่ 16 o27' 13" เหนือ เส้นแวงที่ 104o 46' 20" ตะวันออก พิกัดกริดที่ 48 QVD 758191 ระวางที่ 5941 I
สภาพที่ตั้งและลักษณะของถ้ำ
อยู่ในบริเวณภูอ่างบก (ภูจอมนาง หรือ เขาจอมนาง) ภูเขาหินทรายบนเทือกเขาภูพาน ห่างจากหมู่บ้านส้มป่อยที่อยู่ติดกับแม่น้ำโขง ไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ประมาณ 4 กม. ลักษณะเป็นหน้าผา ทางด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ของภูยาวประมาณ 61 เมตร ภาพเขียนสีอยู่บนผนังหินของหน้าผา ใต้ลานหินของยอดภูนี้จนสุดหน้าผา ภาพอยู่สูงจากพื้น ประมาณ 5 เมตร
การค้นพบ
การค้นพบแหล่งภาพเขียนสีถ้ำฝ่ามือแดงแห่งนี้ ได้ถูกตีพิมพ์เผยแพร่เป็นแห่งแรกของภาคอีสาน โดยนาย เอ. เอฟ. จี. คาร์ (A. F. G. Kerr) ในวารสารสยามสมาคมเมื่อปี พ.ศ. 2467 และต่อมาในปี พ.ศ. 2525 กรมศิลปากรได้ดำเนินการสำรวจเก็บข้อมูล
การเดินทาง
ออกจากอำเภอเมืองมุกดาหาร ไปถนนเมืองมุกดาหารสู้ดอนตาล ห่างจากเมืองมุกดาหาร 8 กิโลเมตร
อยู่ระหว่างหลักกิโลเมตรที่ 8-9 เลี้ยวขวาแยกเข้าไปถึงห้วยสิงห์ประมาณ 1.5 กิโลเมตร เดินออกจาก
อ่างเก็บน้ำห้วยสิงห์ขึ้นไปอีกประมาณ 1.5 กิโลเมตรก็มาถึงถ้ำฝ่ามือแดง
เส้นทางเดิน ค่อนข้างรก เต็มไปด้วยป่าไม้รอบสองข้างทาง เป็นทางเดินเล็กๆหน้าฝนจะมองเห็นทางเดิน
ลำบากหน่อย ค่อนข้างลำบาก เพราะป่าบริเวณภูค่อนข้างสมบูรณ์และหนาทึบ
ส่วนหน้าแล้งพอมองเห็นทางเดินเท้าชัดหน่อย ระยะทาง 1.5 กิโลเมตร ไม่ไกลแต่ด้วยทางเดินขึ้นภูที่
ค่อนข้างชัน ใช้เวลาเดินนานใช้ได้
แสดงความคิดเห็น