ลำผญา หรือ ลำผญาย่อย
ผญาอีสานเป็นบทกวีหรือวรรณคดีภาษาอีสานมีประวัติมาตั้งแต่บรรพกาล ในหนังสือประชุมพงศาวดาร ภาค ๑ เรื่องพงศาวดารล้านช้าง เรื่องขุนบูฮมหรือบูลม(บรม) เขียนไว้ว่า ขุนบูฮมอพยพมาจากทางเหนือเพื่อสร้างบ้านแปลงเมืองโดยมีแถนกลอนมาสอนคำแปลคำด้วย นอกจากนั้นยังได้กล่าวถึงการเผยแพร่พุทธศาสนาเข้ามาในดินแดนแหลมทองว่าเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดบทกวีและวรรณกรรม โดยการที่พระมหากษัตริย์ทรงมอบหมายให้นักปราชญ์อาจารย์นำเค้าโครงเรื่องในนิทานชาดก แต่งเป็นกาพย์กลอนบทกวี เป็นภาษาอีสานเพื่อเป็นกุศโลบายในการโน้มน้าวจิตใจคนให้เลื่อมใสในพุทธศาสนา (จารุบุตร เรืองสุวรรณ .๒๕๒๐)ลำพญา
ประวัติความเป็นมาของลำผญาย่อยหัวดอนตาลลำผญาหัวดอนตาลของชาวบ้านชุมชนบ้านนาสะโน เป็นขนบธรรมเนียมประเพณีที่มีมาแต่โบราณไม่ปรากฏหลักฐานว่าเกิดขึ้นเมื่อใด มีเพียงคำบอกเล่าของศิลปินลำผญาย่อยรุ่นเก่า ความว่า
ลำผญาย่อยหัวดอนตาล เป็นศิลปวัฒนธรรมของชาวอีสานมาแต่โบราณนอกจากลำ ผญาย่อยแล้ว ยังปรากฏลักษณะการแสดงพื้นบ้านของชาวลาว ที่มีความคล้ายคลึงกับลำผญาย่อยหัวดอนตาลที่เรียกว่า ลำบ้านซอก คอนสวรรค์ สีทันดร สาละวัน อันเป็นลักษณะท่วงทำนอง และลีลาการลำที่ไกล้เคียงกัน ส่วนการแสดงแบบใดมาก่อนหรือหลังไม่ปรากฏหลักฐานที่สามารถชี้ชัดได้ ลำผญาย่อยของชาวอีสาน และลำบ้านซอก คอนสวรรค์ของชาวลาวมีพัฒนาการมาพร้อมๆกัน แต่ลัษณะของลำผญาย่อยหัวดอนตาลที่ปรากฏเป็นของชาวชุมชนดอนตาลแต่ดั้งเดิม
สันนิษฐานว่าลำผญาหัวดอนตาลเกิดจากคนที่อาศัยอยู่ร่วมกันได้สร้างสรรค์วัฒนธรรมประจำท้องถิ่นขึ้นเมื่อเกิดการแยกย้ายกระจัดกระจายกันของกลุ่มชนเพื่อเสาะแสวงหาที่ทำกินความอุดมสมบูรณ์ โดยมีศิลปะวัฒนธรรมลำผญาย่อยติดตัวไปและได้แพร่กระจายวัฒนธรรมลำผญาไปสู่ท้องถิ่นใกล้เคียงเกิดการผสมผสานวัฒนธรรมลำผญาดั้งเดิมกับลักษณะภาษาท้องถิ่นที่มีความเป็นเอกลักษณ์และแตกต่างกัน ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงลักษณะการลำผญาแบบเดิม ไปสู่สวรรค์ สีทันดรและสาละวัน ซึ่งมีลักษณะท่วงทำนองการลำที่ใกล้เคียงกับผญาย่อยหัวดอนตาล ของชาวดอนตาล แตกต่างกันเพียงภาษาประจำถิ่น สำเนียง ลีลา ในการออกเสียง การเอื้อนเสียงที่สั้นยาวต่างกันออกไป
ขั้นตอนและวิธีการแสดง
ลำผญาย่อยหัวดอนตาลเป็นศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านของชาวอีสาน และอยู่คู่กับสังคมอีสานมาช้านาน ฉะนั้น รูปแบบและขั้นตอนตลอดจนวิธีการแสดงมิได้ถูกกำหนดขึ้นเป็นหลักการที่แน่ชัดเจาะจงลงไปแต่จะปรับเปลี่ยนไปตามความเหมาะสม โดยขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายๆ ด้านอาทิสถานที่โอกาสในการแสดง สภาพแวดล้อม ผู้ชมฯ การแสดงลำผญาย่อยนั้นเริ่มแสดงในช่วงเวลา ประมาณ ๒๑.๐๐-๐๖.๐๐ น. จะเริ่มต้นการแสดงโดย การไหว้ครู ซึ่งกลอนลำที่ใช้ในช่วงต้นของการแสดงนั้น เป็นกลอนลำที่มีความหมายในการเสริมสร้างความเป็นศิริมงคลแก่ตัวผู้แสดง
เปิดผญา
ลำซิ่งผญา
ลำซิ่งผญา1 ดอนตาล มุกดาหาร 1