ชนเผ่าไทยแสก
“แสก” เป็นชนเผ่าหนึ่งในจำนวนหลาย ๆ เผ่าที่มีอยู่ในประเทศไทย เดิมชาวแสกมีภูมิลำเนาอยู่ที่เมืองรอง ขึ้นกับเมืองเว้ อยู่ทางตอนกลางของประเทศเวียดนามและประเทศจีนชนเผ่าแสกเป็นเผ่าที่
มีความอุตสาหะบากบั่น ยึดมั่นในความสามัคคี เมื่อเห็นว่าภูมิลำเนาเดิมไม่เหมาะสม จึงได้รวบรวมสมัครพรรค พวกอพยพมาหาที่อยู่ใหม่ โดยอพยพลงมาตามลำแม่น้ำโขง แล้วมาตั้งถิ่นฐานชั่วคราวอยู่ระหว่างประเทศเวียดนามกับประเทศลาว โดยมี “ท้าวกายซู” และ “ท้าวกายซา” เป็นหัวหน้าในการอพยพ
แสก หมายความว่า แจ้ง , สว่าง เป็นชนชาติหนึ่งในตระกูลมอญ - เขมร (เปลื้อง ณ นคร 2518 : 492) ชาวไทแสกเป็นชนกลุ่มน้อยตั้งถิ่นฐานอาศัยอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยในท้องที่จังหวัดนครพนม และจังหวัดมุกดาหาร ชาวไทแสกเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ ที่เป็นชาติพันธุ์เดิมมีภูมิลำเนาอาศัยอยู่ในตอนกลางของสาธารณะรัฐสังคมนิยมเวียดนาม (เติม วิภากย์พจนกัจ 2515 : 343) อาศัยอยู่ในแถบเมืองรอง เมืองเว้ ต่อมาชาวเวียดนาม พยายามเข้าครอบครองและรุกรานชาวไทแสกตลอดมา จนทำให้ชาวไทแสกตกอยู่ภายใต้การปกครองของเวียดนาม มีชาวไทแสกบางกลุ่มไม่พอใจอยู่ภายใต้การปกครองของ เวียดนาม ได้อพยพมาทางตอนใต้ มาทางตอนกลางของประเทศ มาตั้งภูมิลำเนาอยู่ใกล้เมืองท่าแขก (อยู่ตรงข้ามกับจังหวัดนครพนม ประเทศไทย) มาอยู่ที่บ้านหม้อเตลิง บ้านทอก ท่าแค บ้านโพธิ์ค้ำ
ถิ่นกำเนิดเดิม
มีถิ่นฐานดั้งเดิมอยู่ที่ เมืองแสก เมืองแสกป๎จจุบันเป็นเมืองร้าง อยู่บริเวณบ้านหนาดบ้านตอง ในแขวงคำม่วนของดินแดนลาว และอยู่ห่างจากชายแดนเวียดนามประมาณ 20 กิโลเมตร(จากเอกสาร ร.5 ม,212 ก.หอจดหมายเหตุแห่งชาติ)เมืองแสกเคยอยู่ในพระราชอาณาจักรไทย ก่อน ร.ศ.112 (พ.ศ.2436) เป็นภาษาไทยลาว ปนญวน เพราะว่าอยู่ใกล้ชิดติดกับเขตแดนญวนและมีขนบธรรมเนียมของญวน (เวียดนาม)ปะปนอยู่ด้วยเช่น ตรุษแสกหรือตรุษญวน (กินเตดหรือ กินเตนเคน) ในวันขึ้น 1 ค่ำเดือน 3 เพื่อบวงสรวงดวงวิญญาณของ เจ้าองค์มู (องค์มู –เป็นชื่อในภาษาญวน) ซึ่งชาวแสกถือว่าเป็นบรรพบุรุษที่ช่วยคุ้มครองรักษาชาวแสกให้ปราศจากภยันตรายทั้งปวงชาวแสกเคยมีประวัติว่าเป็นนักรบที่ห้าวหาญ ในสมัยรัชกาลที่ 3 เจ้าพระยาบดินทรเดชา(สิงห์ สิงหเสนี) แม่ทัพไทยซึ่งยกทัพไปปราบปราม เจ้าอนุวงษ์เวียงจันทน์ และไปตั้งทัพอยู่ที่เมืองนคร ได้แต่งตั้งให้ ฆานบุดดี หัวหน้าชาวแสกเป็น หัวหน้ากอง อาทมาตเป็นกองลาดตะเวนรักษาชายแดนพระราชอาณาเขตซึ่งติดกับเขตแดนญวน ต่อมาได้อพยพชาวแสกให้มาตั้งบ้านเรือนอยู่ในเขตเมืองนครพนม เมืองสกลนคร และเมืองมุกดาหารทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งให้ฆานบุดดีเป็น หลวงตาเอกอาษา เจ้าเมืองอาทมาตขึ้นเมืองนครพนม เมื่อ พ.ศ.2387 ในสมัยรัชกาลที่ 3(จากเอกสาร ร.3 จ.ศ.1206 เลขที่ 58 หอสมุดแห่งชาติ) ไทยแสกได้กระจัดกระจายอยู่ในท้องที่เมืองสกลนคร นครพนม และมุกดาหารผู้หญิงแสกนิยมการแต่งกายที่แปลกกว่าที่ชาวอีสานทั่วไป คือ นุ่งผ้าซิ่นสองชั้นและปล่อยให้ผ้าซิ่นชั้นในแลบออกมา เป็นเอกลักษณ์ของผู้หญิงชาวแสก ศิลปวัฒนธรรม ดั้งเดิมของชาวแสก คือ แสกเต้นสาก หรือ รำลาวกระทบไม้ แม้ในป๎จจุบันก็ยังนิยมเล่นกันอยู่ในเทศกาลเดือน 3 (ตรุษแสก) ทุกปี สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย ทรงเล่าถึงการแสดงแสกเต้นสาก เมื่อ เสด็จตรวจราชการเมืองนครพนม เมื่อพ.ศ. 2449 ไว้ว่า “เขาพาพวกผู้หญิงแสกมาเล่นให้ฉันดูอย่างหนึ่งเรียกว่า แสกเต้นสาก มีผู้หญิง 10 คู่ นั่งหันหน้าเข้าหากันเรียงเป็นแถว แต่ละคนถือปลายไม้พลองมือละอันทั้งสองข้าง วางไม้พลองบนไม้ขอนที่วางทอดไว้ตรงหน้าสองท่อนมีทางอยู่ตรงกลาง เวลาเล่น 10 คู่ นั้น ขับร้องแล้วเอาไม้พลองที่ถือลงกระทบไม้ขอนพร้อม ๆ กันเป็นจังหวะ จังหวะหนึ่ง จังหวะสอง ไม้พลองห่างกัน จังหวะที่สามรวบไม้พลองเข้าชิดกัน มีผู้หญิงสาว 4 คน ผลัดกันเต้นทีละคู่ เต้นตามจังหวะไปในระหว่างช่องไม้พลองที่คนถือนั้น 10 คู่ ต้องระวังเมื่อถึงจังหวะที่สาม อย่าให้ไม้พลองหนีบข้อตีน กระบวนเล่นมีเท่านี้....”
ปัจจุบันชาวไทแสกส่วนมากจะอยู่ที่หมู่บ้านอาจสามารถ ตำบลอาสามารถ อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม อยู่ห่างจากตัวเมืองจังหวัดนครพนม 4 กิโลเมตร และยังมีชนไทแสกบางกลุ่ม ที่ได้พากันอพยพโยกย้ายที่อยู่ไปทำมาหากินถิ่นต่างๆ ในจังหวัดนครพนม และรวมทั้งสาธารณะรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
มีชนชาวไทแสกตามถิ่นต่าง ดังนี้
1. บ้านอาจสามารถ ตำบลอาจสามารถ อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม
2. บ้านไผ่ล้อม ตำบลอาจสามรถ อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม
3. บ้านบะหว้า ตำบลบะหว้า อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม
4. บ้านดอนเสมอ ตำบลอาจสามารถ อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม
5. บ้านโพธิ์ค้ำ แขวงคำม่วน เมืองท่าแขก ประเทศลาว
จากคำบอกเล่าของชาวไทแสก ทราบว่า ปัจจุบัน ยังมีชาวไทแสกอยู่แคว้นสิบสองปันนา ประเทศจีน และที่จังหวัดสมุทรปราการ โดยชาวไทแสกทุกหมู่บ้านทุกกลุ่ม ไม่ว่าจะอยู่ที่ประเทศไทย หรืออยู่ที่ประเทศลาวสามารถพูดภาษาแสกสื่อสารพูดคุยกันได้ โดยใช้ภาษาแสกในการพูดจาสื่อสารกัน
คำศัพท์ภาษาไทยแสก
ภาษาไทยกลาง ภาษาไทยอีสาน ภาษาไทยแสก
ช้าง ซ่าง ซาง
ม้า ม่า มา
แพะ แพะ แพะ
เป็ด เป๋ด ปึ๊ด
ปลา ปา ปร๋า
แมว แม่ว แมว
หมู หมู หมู
หมี หมี หมี
หนู หนู หนู
วัว งั่ว บอ
หอย หอย โอก
ห่าน ฮ่าน ห่าน
ผีเสื้อ แมงกะเบี้ย บุ่งบ่า
เสือ เสีย,เสือ กุ๊ก
สิงโต สิงโต สิงโต
ยีราฟ ยีราฟ ยีราฟ
สุนัข หมา มา
จิ้งจก ขี้เกี้ยม ยะราน
ตุ๊กแก กั๊บแก้ กั๊บแก้
ปู ปู เบษ
เต่า เต้า รอ
เขียด เขียด แทร่ (ควบ)
อึ่ง อึง อึ่ง
ปลาดุก ปาดุก ปร่าร้อก
ปลาช่อน ปาค่อ ปร่าแทร่
ปลาซิว ปาซิว ปร๋าชิว