กลองโบราณล้ำเลิศ ถิ่นกำเนิดลำผญา ตระการตาชายโขง เชื่อมโยงอินโดจีน"
ในปลายสมัยกรุงศรีอยุธยาทางฝั่งซ้ายของลำน้ำโขงแขวง สวัน เขต มีหมู่บ้านชุมชนใหญ่ชื่อบ้านหลวงโพนสิน ซึ่งตั้งอยู่ที่บริเวณพระธาตุอิงฮัง แขวงสะหวันเขตในปัจจุบัน โดยมีเจ้าจันทรสุริยวงศ์เป็นผู้ปกครอง มีบุตรชายชื่อเจ้ากินรี ซึ่งต่อมาได้ข้ามลำน้ำโขงมาฝั่งขวาที่บริเวณปากห้วยมุก และสร้างบ้านแปลงเมืองขึ้น ณ ที่นั้นในปี พ.ศ. 2310 แล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2313 และตั้งชื่อเมืองว่า "มุกดาหาร" อันเกิดจากศุภนิมิตรที่พบเห็นในขณะที่กำลังสร้างเมือง ชาวเมืองทั่วไปเรียกมุกดาหารว่า เมืองมุก
ใน สมัยพระเจ้าตากสินมหาราช ได้พระราชทานบรรดาศักดิ์ ให้เจ้ากินรีเป็นพระยาจันทรศรีสุราช อุปราชามัณฑาตุราช ดำรงตำแหน่ง เจ้าเมืองคนแรกของเมืองมุกดาหาร เมื่อปี พ.ศ. 2321
เดิม เมืองมุกดาหารมีฐานะเป็นเมืองขึ้นการ ปกครองกับมณฑลอุดร ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2450 มีการปรับปรุงการปกครองมณฑลอุดรเป็นจังหวัด และเมืองมุกดาหารจึงถูกยุบเป็นอำเภอเมืองมุกดาหาร ขึ้นการปกครองกับจังหวัดนครพนม จนกระทั่งปี พ.ศ. 2525 รัฐบาลได้ออก พระราชบัญญัติจัดตั้งจังหวัดมุกดาหารขึ้นเป็นจังหวัดที่ 73 ของประเทศไทย และเป็นจังหวัดที่ 17 ของภาคอีสาน
จังหวัด มุกดาหารเป็นประตูด่านสำคัญสู่ กลุ่มประเทศอินโดจีน มีความสัมพันธ์ฉันท์บ้านพี่น้องกับแขวงสวันเขต สปป.ลาว มาช้านาน โดยมีแม่น้ำโขงซึ่งมีความยาวถึง 70 กิโลเมตร เป็นเส้นกั้นพรมแดน และมีความโดดเด่นในด้านชนเผ่าพื้นเมืองต่างๆที่มีถึง 8 เผ่าได้แก่ เผ่าไทยอีสาน ภูไท ไทยข่า กระโซ่ ไทยย้อ ไทยแสกและไทยกุลา และยังมีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่สวยงาม มุกดาหารมีพื้นที่ประมาณ 4,339.830 ตารางกิโลเมตร แบ่งการปกครองออกเป็น 7 อำเภอ คือ อำเภอเมืองมุกดาหาร อำเภอคำชะอี อำเภอดอนตาล อำเภอนิคมคำสร้อย อำเภอดงหลวง อำเภอหว้านใหญ่ และอำเภอหนองสูง
อาณาเขต
ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอเต่างอย จังหวัดสกลนคร และอำเภอนาแก จังหวัดนครพนม ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร อำเภอชานุมาน จังหวัดอำนาจเจริญ และอำเภอหนองพอก อำเภอโพนทอง จังหวัดร้อยเอ็ด ทิศตะวันออก ติดต่อกับแขวงสวันเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยมีแม่น้ำโขงเป็นเส้นกั้นพรมแดน ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอกุฉินารายณ์ อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์
การเดินทาง
รถยนต์ มุกดาหารอยู่ห่างจากกรุงเทพฯประมาณ 642 กิโลเมตร ใช้เส้นทางกรุงเทพฯ - สระบุรี - นครราชสีมา - อ.บ้านไผ่ - มหาสารคาม - อ.โพนทอง จ.ร้อยเอ็ด-อ.คำชะอี จ.มุกดาหาร หรือเส้นทางกรุงเทพฯ-สระบุรี-นครราชสีมา (ทางหลวงหมายเลข 2) เลี้ยวขวาเข้าเส้นทางหลวงหมายเลข 207 ที่บ้านวัด ผ่าน อ.ประทาย อ.พุทไธสง อ.พยัคฆภูมิพิสัย-อ.เกษตรวิสัย-อ.สุวรรณภูมิ แล้วแยกเข้าทางหลวงหมายเลข 2169 ผ่านทรายมูล อ.กุดชุม อ.เลิงนกทา แยกซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 212 ผ่านอำเภอนิคมคำสร้อย สู่ จ.มุกดาหาร
รถโดยสารประจำทาง บริษัท ขนส่ง จำกัด มีบริการเดินรถจากสถานีขนส่งหมอชิต 2 ทุกวัน โทร. 0 2936 2852-66 นอกจากนี้ยังมีรถโดยสารประจำทางเชื่อมระหว่างมุกดาหารและจังหวัดอื่นๆ ในภาคอีสาน อาทิ จังหวัดขอนแก่น อุบลราชธานี นครพนม สกลนคร อุดรธานี และมหาสารคามกำหนดเวลาและรายละเอียดสอบถามได้ที่สถานีขนส่งจังหวัดมุกดาหาร โทร. 0 4261 1421,0 4261 1478,0 4261 3025-9 www.transport.co.th
รถไฟ มีรถด่วน รถเร็ว และรถด่วนพิเศษสปรินเตอร์ กรุงเทพฯ-อุบลราชธานี ทุกวัน จากนั้นต่อรถโดยสารไปยังจังหวัดมุกดาหาร ระยะทางประมาณ 167 กิโลเมตร รายละเอียดเพิ่มเติมสอบถามได้ที่หน่วยบริการเดินทาง การรถไฟแห่งประเทศไทย โทร. 1690,0 2223 7010,
0 2223 7020 www.railway.co.th
เครื่องบิน บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ยังไม่มีบริการเที่ยวบินไปจังหวัดมุกดาหารโดยตรง หากประสงค์เดินทางโดยเครื่องบินต้องเดินทางไปจังหวัดอุบลราชธานี หรือ นครพนม จากนั้นต่อรถโดยสารไปจังหวัดมุกดาหาร ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) โทร.1566, 0 2280 0060, 0 2628 2000 www.thaiairways.com
ระยะทางจากอำเภอเมืองไปอำเภอต่างๆ
อำเภอคำชะอี 35 กิโลเมตร อำเภอดอนตาล 33 กิโลเมตร อำเภอนิคมคำสร้อย 28 กิโลเมตร อำเภอดงหลวง 55 กิโลเมตร อำเภอหว้านใหญ่ 35 กิโลเมตร อำเภอหนองสูง 50 กิโลเมตร
....สถานที่ท่องเที่ยว....
หอแก้วมุกดาหารเฉลิมพระเกียรติกาญจนา ภิเษก อยู่ในตัวเมืองมุกดาหารเป็นหอสูง ภายในมีห้องจัด แสดงนิทรรศการเกี่ยวกับ ประวัติศาสตร์ ของเมืองมุกดาหาร วิถีชีวิตและศิลปวัฒนธรรมของชนเผ่าพื้นเมืองของชนสองฝั่งโขง ชั้นบนสุด(ชั้น7) เป็นหอพระประดิษฐานพระพุทธรูป นวมิ่งมงคลมุกดาหารและสามารถชมทัศนียภาพรอบตัวเมือง แม่น้ำโขงและฝั่งลาวได้อย่างสวยงาม เปิดทุกวัน เวลา 08.00-18.00 น. ค่าเข้าชม 20 บาท
ศาลเจ้าพ่อเจ้า ฟ้ามุงเมือง ตั้งอยู่บนถนนสองนางสถิตย์ในเขตเทศบาลเมืองมุกดาหาร ในบริเวณศาลเจ้าพ่อเจ้าฟ้ามุงเมืองนี้ มีหลักเมือง ประดิษฐานอยู่ด้วยศาลเจ้าพ่อเจ้าฟ้ามุงเมืองนี้ไม่มีผู้ใดทราบความเป็นมาว่า สร้างในสมัยใดสันนิษฐานว่าคงจะสร้างขึ้นพร้อมกับการ
สร้างเมืองมุกดาหาร แต่เดิมเป็นเพียงศาลไม้ต่อมาได้มีการบูรณะก่อสร้างเป็นศาลคอนกรีต ชาวเมืองมุกดาหารถือว่าศาลเจ้าพ่อเจ้าฟ้ามุงเมือง เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ปกปักรักษาเมืองมุกดาหารให้ร่มเย็นเป็นสุข
ศาลเจ้าแม่สองนางพี่น้อง ตั้งอยู่บนถนนสำราญชายโขง ริมแม่น้ำโขง ติดกับท่าด่านตรวจคนเข้าเมือง จังหวัดมุกดาหาร ศาลแห่งนี้เดิมเป็น ศาลไม้ไม่ทราบประวัติความเป็นมา ต่อมาได้มีการบูรณะเป็นศาลคอนกรีต ชาวจังหวัดมุกดาหารถือว่าศาลเจ้าแม่สองนางพี่น้อง เป็นสถานที่ ศักดิ์สิทธิ์คู่กับศาลเจ้าพ่อเจ้าฟ้ามุงเมือง ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ของทุกปี ชาวจังหวัดมุกดาหารจะจัดให้มีพิธีบวงสรวง เจ้าพ่อเจ้าฟ้ามุงเมือง และเจ้าแม่สองนางพี่น้องพร้อมกัน
วัดศรีมงคลใต้ ตั้งอยู่ริมแม่น้ำโขงในตัวเมืองมุกดาหาร ภายในพระอุโบสถประดิษฐานพระเจ้าองค์หลวง พระพุทธรูปก่ออิฐถือปูน เป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมือง สร้างขึ้นก่อนตั้งเมืองมุกดาหาร แต่ไม่ปรากฏว่าสร้างในสมัยใด มีขนาดหน้าตักกว้าง 2.20 เมตร ส่วนสูงเฉพาะองค์ถึงยอดพระเมาลี 2 เมตร ตามตำนานเล่าว่า เมื่อ พ.ศ. 2310 ขณะที่เจ้ากินรีคุมบ่าวไพร่ถากถางอยู่ใกล้ต้นตาลเจ็ดยอด เมื่อครั้งสร้างเมืองใหม่นั้นได้พบพระพุทธรูปสององค์ องค์ใหญ่เป็นพระพุทธรูปก่ออิฐถือปูน องค์เล็กเป็นพระพุทธรูปเหล็กอยู่ใต้ต้นโพธิ์ เจ้ากินรีจึงสร้างวัดขึ้นบริเวณนั้น เพื่อประดิษฐานพระพุทธรูปทั้งสององค์ วันหนึ่งเมื่อพระภิกษุประจำวัดเข้าไปสักการะ ปรากฏว่าไม่พบพระพุทธรูปเหล็ก เมื่อค้นดูรอบๆ บริเวณวัด พบว่าพระพุทธรูปเหล็กไปประดิษฐานอยู่ใต้ต้นโพธิ์ตามเดิม และจมลงในดินเหลือแต่ยอดพระเมาลีเป็นที่น่าอัศจรรย์ เจ้ากินรีจึงสร้างแท่นสักการะบูชาไว้ ณ ที่นั้น และถวายนามว่า "พระหลุบเหล็ก" ส่วนพระพุทธรูปองค์ใหญ่ประดิษฐานอยู่ ในโบสถ์ เรียกนามว่า "พระเจ้าองค์หลวง" เป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองมุกดาหารนับแต่นั้นมา
วัดศรีบุญเรือง (บ้านใต้) ตั้งอยู่ที่ถนนสำราญชายโขงในตัวเมืองมุกดาหาร ภายในพระอุโบสถประดิษฐานพระพุทธสิงห์สอง ซึ่งเป็นพระพุทธรูป ทองสัมฤทธิ์ ขนาดหน้าตักกว้าง 1 เมตร ส่วนสูงเฉพาะองค์ถึงยอดพระเมาลี 1.20 เมตร ประวัติความเป็นมาของพระพุทธสิงห์สองนั้น มีหลักฐานว่า ในสมัยที่เมืองมุกดาหารยังเป็นเมืองใหม่ เจ้ากินรีได้เดินทางไปนครเวียงจันทน์ เพื่ออัญเชิญพระพุทธสิงห์สองมาประดิษฐานไว้ที่ พระอุโบสถ ของวัดศรีมงคลใต้ ต่อมาเจ้ากินรีได้สร้างวัดขึ้นใหม่ที่บ้านศรีบุญเรือง จึงได้อัญเชิญย้ายมาประดิษฐานบนแท่นในพระอุโบสถวัดศรีบุญเรือง เพื่อสักการะบูชาสืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบันนี้ ในงานสงกรานต์ของอำเภอเมืองมุกดาหาร ชาวอำเภอเมืองมุกดาหารได้กระทำพิธีอัญเชิญ พระพุทธสิงห์สองจากพระอุโบสถวัดศรีบุญเรืองแห่รอบเมือง แล้วนำไปประดิษฐานบนแท่นที่จัดไว้ เพื่อให้ประชาชนทั่วไปได้สรงน้ำเป็นประจำทุกปี
อุทยานแห่งชาติมุกดาหาร (ภูผาเทิบ) เป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 59 ของประเทศไทยมีเนื้อที่ 48.5 ตารางกิโลเมตร หรือ 30,312.5 ไร่ ครอบคลุม พื้นที่อำเภอเมืองมุกดาหารและอำเภอดอนตาล จังหวัดมุกดาหาร ห่างจากตัวเมืองประมาณ 17 กิโลเมตร โดยใช้เส้นทางมุกดาหาร-ดอนตาล (ทางหลวงหมายเลข 2034) แยกเข้าทางขวามืออีกประมาณ 2 กิโลเมตร จะถึงที่ทำการอุทยานฯ หรือ นั่งรถจากกรุงเทพฯ ไปลงที่สถานีขนส่งมุกดาหาร และต่อรถสองแถว (สีเหลือง) ค่าโดยสารประมาณ 5 บาทไปลงที่ตลาดพรเพชร แล้วต่อรถสองแถวสายมุกดาหาร - ดอนตาล ค่าโดยสารประมาณ 10 บาท ลงที่ปากทางเข้าอุทยานแห่งชาติมุกดาหารหรือบอกให้คนขับรถเข้าไปส่งที่ อุทยานฯก็ได้ ลักษณะภูมิประเทศเป็นภูเขาหินทรายประกอบด้วย เทือกเขาน้อยใหญ่หลายลูกติดต่อกัน แบบลูกคลื่นและเป็นส่วนปลายสุดของเทือกเขาภูพาน เทือกเขาเหล่านี้วางตัวในลักษณะแนวเหนือ-ใต้ขนานและห่างจากชายฝั่งแม่น้ำโขง ประมาณ 4 กิโลเมตร ภายในอุทยานมุกดาหารประกอบด้วยภูหมากยาง ภูมโน ภูโปร่ง ภูรัง ภูจอมนาง ภูหมากมี่ ภูผาเทิบ ภูนางหงส์ ภูถ้ำพระ ภูหลักเสและยอดเขาสูงสุดคือ ยอดภูจอมศรี มีความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 170-420 เมตร สภาพป่าส่วนใหญ่เป็นป่าไม้เต็งรัง และป่าเบญจพรรณ และยังเป็นแหล่งกำเนิดของลำห้วยหลายสาย เช่น ห้วยตาเหลือก ห้วยสิงห์ ห้วยเรือ ห้วยมะเล ห้วยช้างชน เป็นต้น แถบบริเวณเชิงเขาเป็นป่าไผ่ขึ้นสลับเป็นแนว หลายบริเวณเป็นหน้าผาสูงและลานหินกว้าง มีหินรูปร่างแปลกๆ มากมาย
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่อุทยานแห่งชาติมุกดาหาร อำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร และส่วนอุทยานแห่งชาติ สำนักอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ กรมป่าไม้ กรุงเทพฯ 10900 โทร. 0 2579 5734, 0 2579 7223 www.thaiparks.com
หอยสมัยหิน มีลักษณะคล้ายหอยสังข์จำนวนมาก ฝังอยู่ในดินลึกประมาณ 40 ฟุต พบที่โคกหินแดง บ้านนายอ ตำบลเหล่าหมี อำเภอดอนตาล การเดินทางใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 2034 เลี้ยวซ้ายตรงหลักกิโลเมตรที่ 17-18 ปากทางเข้าบ้านนาโพธิ์ จากการวิจัยของกรมทรัพยากรธรณี โดยนำหอยไปวัดความหนาแน่นแล้วทำให้ทราบว่า เปลือกโลกบริเวณนี้มีอายุประมาณ 27 ล้านปี ซึ่งขุดพบเป็นแห่งที่ 3 ของโลก บริเวณที่พบ เปลือกหอยนี้ ปรากฏว่าเป็นชั้นหินปูนหนาประมาณ 1 ฟุต เหมาะสำหรับผู้สนใจทางด้านธรณีวิทยา
อุทยานแห่งชาติภูสระดอกบัว เป็นอุทยานที่มีพื้นที่อยู่บนแนวรอยต่อ 3 จังหวัด คือ อำเภอนิคมคำสร้อย อำเภอดอนตาล จังหวัดมุกดาหาร อำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร อำเภอชานุมาน และอำเภอเสนางคนิคม จังหวัดอำนาจเจริญ มีพื้นที่ประมาณ 321 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 144,375 ไร่ ประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติเมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2535 เป็นลำดับที่ 75 ของประเทศ เป็นอุทยานแห่งชาติที่มีสภาพป่าธรรมชาติที่ สมบูรณ์มาก มีความงามทางธรรมชาติให้สัมผัสหลายแบบ เช่น เดินชมทิวทัศน์บนยอดภูเขา ความมหัศจรรย์ของโขดหิน ชมไม้ดอกบนทุ่งหญ้าช่วง ปลายฤดูฝนและชมดอกบัวธรรมชาติบนยอดเขาที่ชาวท้องถิ่นเรียกว่า"ภูเขาแห่งดอก บัว" สภาพภูมิประเทศโดยทั่วไปเป็นเทือกเขาสลับซับซ้อน ทอดตัวเป็นแนวยาวจากทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ลงสู่ทิศตะวันออกเฉียงใต้ มีความสูงโดยเฉลี่ย 350-450 เมตร เหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง มียอดสูงที่สุดคือ ภูกระแซะ สูงประมาณ 491 เมตร เทือกเขาเหล่านี้เป็นแหล่งต้นน้ำลำธารหลายสาย เช่น ห้วยทม ห้วยก้านเหลือง ซึ่งไหลรวม ลงสู่พื้นราบโดยรอบอุทยานฯ ซึ่งประกอบด้วยป่าอันอุดมสมบูรณ์หลายชนิด พื้นที่หลายแห่งมีลานหินขนาดใหญ่ ซึ่งชาวท้องถิ่นเรียกว่า "ดาน" กระจายอยู่ตามป่า ส่วนใหญ่เป็นป่าเบญจพรรณและป่าดิบแล้งกระจายอยู่ตามเทือกเขาต่างๆ มีไม้ที่มีค่าขึ้นอยู่หลายชนิด เช่น มะค่าโมง ประดู่แดง พยุง ชิงชัน บริเวณพื้นที่ป่าเหล่านี้ มีสัตว์ป่าอาศัยอยู่หลายชนิด โดยเฉพาะที่เทือกเขาภูสระดอกบัวซึ่งเป็นพื้นที่ป่าขนาดใหญ่ และอุดมสมบูรณ์ ไปด้วยแหล่งน้ำ สามารถพบสัตว์ป่าได้หลายชนิด เช่น เก้ง หมูป่า กระต่ายป่า ลิง บ่าง เม่น กระจง และสัตว์ปีกประเภทต่างๆ ได้แก่ ไก่ฟ้า ไก่ป่า เป็นต้น บริเวณอุทยานฯ ประกอบด้วยทิวทัศน์ที่สวยงาม ความวิจิตรพิสดารของหินผามีความเด่นเป็นเอกลักษณ์ของตัวเอง ตลอดจนร่องรอย ของการต่อสู้อันเกิดจากความขัดแย้งทางการเมือง จึงทำให้พื้นที่แห่งนี้มีศักยภาพทางการท่องเที่ยว สถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจในเขตอุทยานฯ ภูสระบัว ได้แก่
ภูสระดอกบัว เป็นภูเขาที่มีความสูงประมาณ 423 เมตร บนรอยต่อเขต 3 จังหวัด ที่ยอดภูสระดอกบัวมีแอ่งหินขนาดกว้างประมาณ 2-3 เมตร จำนวน 11 แอ่ง มีน้ำขังตลอดปี มีบัวพันธุ์ต่างๆ ขนาดเล็ก ขึ้นอยู่เต็มสระเมื่อออกดอกจะดูสวยงามมาก ชาวบ้านเล่ากันว่ามีบัวขึ้นอยู่ อย่างนี้ มานานแล้ว และเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ จึงได้ชื่อว่า "ภูสระดอกบัว" ใช้เวลาเดินทางประมาณ 1 วัน
ภูผา แตก หรือชื่อทางยุทธศาสตร์ว่า "เนิน 428" ที่นี่มีจุดชมวิวมีองค์ประกอบทางธรรมชาติสวยงาม ทางด้านทิศเหนือสามารถมองเห็นทิวเขาของ อุทยานแห่งชาติมุกดาหารในระยะไกลได้
ลานหินและป่าเต็งรัง แคระ พบได้ทั่วไป และมีอยู่มาก เป็นลานหินยาวและใหญ่ บางแห่งมีขนาด 20-40 ไร่ สลับกับป่าเต็งรังแคระ บางแห่ง เป็นป่าเต็งรังสลับกับป่าหญ้าเพ็ก มองดูสวยงามมาก และพบได้หลายแห่ง เช่น ภูผาหอม หลังภูผาด่าง หลังภูผา ภูสระดอกบัว ภูบก ภูหัวนาค เป็นต้น
การ เดินทางไปยังอุทยานแห่งชาติภูสระดอก บัว ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 2277 (อ.เลิงนกทา-อ.ดอนตาล) ระหว่างกิโลเมตรที่ 22-24 ประมาณ 1 กิโลเมตร ซึ่งห่างจากอำเภอเลิงนกทาประมาณ 28 กิโลเมตร และห่างจากอำเภอดอนตาลประมาณ 22 กิโลเมตร สอบถามรายละเอียดได้ที่ สำนักงานป่าไม้ จังหวัดมุกดาหาร โทร. 0 4261 1757 หรือที่ทำการอุทยานแห่งชาติภูสระดอกบัว โทร. 0 4261 9076 หรือ กองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ โทร. 0 2579 7223, 0 2579 5734 www.thaiparks.com
กลองมโหระทึก เป็นกลองสัมฤทธิ์หน้าเดียว เส้นผ่าศูนย์กลาง 86 เซนติเมตร ตัวกลองยาว 90 เซนติเมตร หน้ากลองเป็นรูปตะวันนูน มีแฉก 14 แฉก มีรูปกบติดขอบกลองจำนวน 4 ตัว กลองดังกล่าวเชื่อว่าอายุไม่ต่ำกว่า 3,000 ปี และเป็นกลองที่พวกข่าและขอมโบราณชอบเก็บสะสมไว้ ค้นพบเมื่อปี พ.ศ. 2481 ที่บริเวณริมตลิ่งแม่น้ำโขงที่น้ำเซาะพังตรงบ้านนาทาม โดยตอนแรกเก็บไว้ที่วัดเวินไชยมงคล อำเภอดอนตาล แต่ปัจจุบันได้เก็บรักษาไว้ที่วัดมัชฌิมาวาส (วัดกลาง) อยู่ไม่ไกลจากที่ว่าการอำเภอดอนตาล โดยสร้างเป็นหอกลองเก็บรักษาไว้อย่างมั่นคง
วัดภูด่านแต้ หรือวัดพุทธโธธัมมะธะโร ตั้งอยู่ริมทางหลวงหมายเลข 212 ที่บ้านชัยมงคล ตำบลโชคชัย อำเภอนิคมคำสร้อย ห่างจากตัวอำเภอ นิคมคำสร้อยประมาณ 4 กิโลเมตร ตรงหลักกิโลเมตรที่ 134 ด้านขวามือเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปขนาดใหญ่ มีธรรมจักรเปล่งรัศมี อยู่ด้านบนมีความอ่อนช้อยสวยงาม สามารถมองเห็นได้แต่ไกล บริเวณวัดเป็นหินดานธรรมชาติ มีประชาชนจากที่ต่างๆ เข้าไปนมัสการ และชมความงามของบริเวณวัดกันอยู่เสมอ
ภูหมู เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่สวยงามยิ่งอีกแห่งหนึ่งของจังหวัด มุกดาหารมีความสูง 353 เมตร เหนือระดับน้ำทะเล มีพื้นที่ราบบนยอดเขาประมาณ 4 ตารางกิโลเมตร หรือ 2,500 ไร่ เมื่อสมัยก่อนบริเวณนี้มีหมูป่าชุกชุมมาก บนยอดเขามีจุดซึ่งเป็นหน้าผาให้ชมวิว 3 จุด จุดชมวิวที่ 1 อยู่ด้านตะวันออกของที่ทำการ สามารถมองเห็นภูถ้ำเม่น ภูไม้ซาง ภูแผงม้า และอ่างเก็บน้ำห้วยขี้เหล็กได้อย่างชัดเจน จุดชมวิวที่ 2 อยู่ด้านทิศตะวันตก สามารถมองเห็นถนนทางขึ้นภูหมู ภูน้อย ภูติ้ว ภูโล้น ภูกะล่อน วัดภูด่านแต้ และเทือกเขาภูพานสลับซับซ้อน จุดชมวิวที่ 3 อยู่บริเวณยอดเขาด้านทิศใต้ สามารถมองเห็นภูถ้ำพระและอำเภอเลิงนกทา ในบริเวณนี้ยังมีร่มไม้ใหญ่และลานหินซึ่งเหมาะแก่การพักผ่อนเป็น อย่างยิ่ง การเดินทาง ใช้เส้นทางหมายเลข 212 (มุกดาหาร-เลิงนกทา) ถึง 128-129 แยกซ้ายมือเข้าไปอีกประมาณ 12 กิโลเมตร เป็นทางลาดยางขึ้นเนินแต่ค่อนข้างแคบ ทำให้รถใหญ่เข้าไปไม่สะดวก การพักค้างแรมในบ้านพักหรือเต็นท์ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ อุทยานแห่งชาติภูสระดอกบัว โทร. 0 4261 9076 หรือ ส่วนอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ กรุงเทพฯ โทร. 0 2579 5734,0 2579 7223
อ่างเก็บน้ำชลประทานห้วยขี้เหล็ก ตั้งอยู่บนเส้นทาง 212 (สายมุกดาหาร-เลิงนกทา) ห่างจากตัวเมืองมุกดาหารประมาณ 23 กิโลเมตร ก่อนถึงทางเข้าภูหมู เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีทิวทัศน์สวยงามแห่งหนึ่งของจังหวัดมุกดาหาร
น้ำตกตาดโตน อยู่ห่างจากอำเภอหนองสูงไปทางทิศใต้ และอยู่ห่างจากอำเภอคำชะอีไปทางทิศตะวันตก ตามถนนสาย 2042 ระยะทางประมาณ 18 กิโลเมตร อยู่ระหว่างหลักกิโลเมตรที่ 67-68 แยกเข้าไปอีกประมาณ 400 เมตร ทางขวามือ ระยะน้ำตกสูง 7 เมตร กว้าง 30 เมตร มีแอ่งน้ำสำหรับเล่นน้ำได้ เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจของชาวมุกดาหารและชาวจังหวัดใกล้เคียง
แก่งกะเบา เป็นแก่งหินยาวเหยียดตามลำน้ำโขง บนฝั่งก็ยังมีลานหินกว้างใหญ่เป็นที่พักผ่อนได้อย่างดี ในฤดูแล้งน้ำลดจนเห็นเกาะแก่งกลางน้ำ และหาดทรายสวยกว่าฤดูอื่นๆ การเดินทางใช้เส้นทางมุกดาหาร-ธาตุพนม (ทางหลวงหมายเลข 212) ประมาณ 20 กิโลเมตร แยกขวาไปอำเภอหว้านใหญ่อีก 9 กิโลเมตร จะพบทางแยกไปแก่งกะเบา ซึ่งอยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอไปทางทิศเหนืออีก 8 กิโลเมตร
วัดมโนภิรมย์ ตั้งอยู่ริมแม่น้ำโขง ในเขตตำบลชะโนด เป็นวัดเก่าแก่สร้างขึ้นโดยช่างสถาปัตยกรรมจากนครเวียงจันทน์ ต่อมาในปี พ.ศ. 2447 เกิดไฟไหม้วัดเสียหายอย่างมากมาย และได้บูรณะปฏิสังขรณ์แล้วเสร็จเมื่อ พ.ศ. 2454 ที่วัดมีสถาปัตยกรรมที่น่าสนใจ เช่น วิหาร พระอุโบสถ พระพุทธรูป และซุ้มบันไดโบสถ์ที่เก่าแก่และสวยงาม
สักการสถานพระมารดาแห่งมรณสักขี วัดสองคอน เป็นโบสถ์คริสต์สร้างแบบสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ ที่มีความสวยงามและใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เคยได้รับรางวัลสถาปัตยกรรมดีเด่น สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์
ปี 2539 มีหุ่นขี้ผึ้งของนักบุญราศรีทั้งเจ็ด บริเวณกว้างขวางและมีพื้นที่ติดกับแม่น้ำโขง
วัดพระศรีมหาโพธิ์ เป็นวัดเก่าแก่อยู่ที่อำเภอหว้านใหญ่ มีโบสถ์เก่าแก่หลังเล็กๆ สร้างขึ้นปี พ.ศ. 2467 ศิลปะผสมตะวันตก ไทย เวียดนาม ฝรั่งเศส ภายในโบสถ์มีจิตรกรรมฝาผนังสมัยโบราณอันวิจิตรสวยงามเรื่องพระเวสสันดรชาดก ในตอนต่าง ๆ ฝีมือช่างพื้นบ้าน เมืองสะวันเขตซึ่งอยู่ตรงข้ามกับตัวเมืองมุกดาหาร นักท่องเที่ยวสามารถไปเที่ยวชมได้ ซึ่งต้องใช้หลักฐานการยื่นขออนุญาตผ่านแดน ดังนี้
- บัตรประจำตัวประชาชน พร้อมสำเนา 1 ฉบับ - รูปถ่ายขนาด 1 นิ้ว หรือ 2 นิ้ว 2 รูป (ถ่ายไม่เกิน 6 เดือน) - กรณีเด็กที่ยังไม่ได้ทำบัตรประชาชน ให้ใช้สำเนาทะเบียนบ้านหรือสูติบัตร 1 ฉบับ - กรณีใช้บัตรสีเหลือง ต้องติดรูปถ่าย และให้ทางอำเภอรับรอง - ต้องเป็นผู้มีสัญชาติไทย -การ ออกใบอนุญาตผ่านแดน มีอายุครั้งละ 3 วัน (กรณีข้ามไปเยี่ยมญาติหรือท่องเที่ยว) และครั้ง ละ 30 วัน (กรณีข้ามไปเพื่อติดต่อธุรกิจค้าขาย) - ยื่นหลักฐาน และสอบถามรายละเอียดได้ที่ สำนักงานจังหวัดมุกดาหาร วันจันทร์-ศุกร์ เวลา 08.30-16.30 น. วันเสาร์ตั้งแต่เวลา 08.30-14.00 น. วันอาทิตย์ตั้งแต่เวลา 09.30-10.30 น. โทร. (042) 611330 -ค่าธรรมเนียมทำบัตรผ่านแดน คนละ 30 บาท ค่าเรือเที่ยวละ 50 บาท ค่าเหยียบแผ่นดินฝั่งลาว วันจันทร์-ศุกร์ คนละ 80 บาท วันเสาร์-อาทิตย์ คนละ 130 บาท -เวลาเดินเรือ วันจันทร์-ศุกร์ เวลา 09.15 น. , 10.15 น. , 11.15 น. , 13.30 น. , 14.30 น. , 15.30 น. วันเสาร์ เวลา 10.30 น. , 14.30 น. , 15.30 น. และวันอาทิตย์ เวลา 10.30 น. , 15.00 น. สอบถามรายละเอียดได้ที่ บริษัท เรือโดยสารมุกดาหาร จำกัด โทร.0 4261 2592 หรือ ด่านตรวจคนเข้าเมืองมุกดาหาร โทร. 0 4263 2878 หมายเหตุ สำหรับชาวต่างประเทศต้องใช้หนังสือเดินทาง (Passport) และประทับตราวีซ่าที่ทางสถานฑูตลาวเป็นผู้ออกให้เท่านั้น แหล่งข้อมูล : การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย |