การท่องเที่ยวด้วยตนเองของจีนกำลังเติบโตขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากคนจีนรุ่นใหม่เป็นคนยุคมิลเลนเนียล ซึ่งมีทักษะการสื่อสารด้านภาษาอังกฤษและมีทักษะด้านดิจิทัล
ข้อมูลจากองค์กรด้านการท่องเที่ยวสากล(United Nations World Tourism OrganizationหรือUNWTO) เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมาระบุว่า ประเทศจีนเป็นตลาดการท่องเที่ยวที่ใหญ่ที่สุด โดยมีการบันทึกว่านักท่องเที่ยวจีนจัดทริปต่างประเทศถึง 135 ล้านทริปในปีที่ผ่านมา และใช้จ่ายสูงถึง 261 พันล้านเหรียญสหรัฐ มากกว่านักท่องเที่ยวชาวสหรัฐฯ ถึงสองเท่า ทั้งนี้ตัวเลขการเติบโตของนักท่องเที่ยวอิสระยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และพบว่า 52% ของทริปต่างประเทศจากนักท่องเที่ยวชาวจีนเป็นนักท่องเที่ยวอิสระ ขณะที่ 35 % เป็นนักท่องเที่ยวกับกรุ๊ปทัวร์
แบบสำรวจสอบถามนักท่องเที่ยวชาวจีน 800 คน เกี่ยวกับรายละเอียดทริป โดยพบว่าผู้ที่ท่องเที่ยวอิสระมีค่าใช้จ่ายประมาณครั้งล่าสุดเฉลี่ยที่ 16,527 หยวน หรือประมาณ 2,436 ดอลลาร์สหรัฐ ซึ่ง 56 % ของค่าใช้จ่ายหมดไปกับค่าช็อปปิ้ง และญี่ปุ่นเป็นประเทศปลายทางยอดนิยม ตามด้วยฮ่องกงและไทย
ทั้งนี้พบว่า 80% ของกลุ่มตัวอย่างที่ท่องเที่ยวอิสระเสิร์ชข้อมูลจากอินเตอร์เน็ตเพื่อวางแผนการท่องเที่ยว มากกว่ากลุ่มตัวอย่างที่เที่ยวกับกรุ๊ปทัวร์ซึ่งมีผู้ค้นหาจากอินเตอร์เน็ตก่อนการเที่ยวเฉลี่ยเพียง 52% อย่างไรก็ตามข้อมูลจากแบบสำรวจพบว่ามีผู้ที่ค้นหาสถานที่ช็อปปิ้งผ่านสมาร์ทโฟนสูงถึง 65
เมื่อนำผลสำรวจมาวิเคราะห์พบรูปแบบการท่องเที่ยวที่น่าสนใจมากมาย โดยหนึ่งในผู้ตอบแบบสอบถาม “เฉิน หยางหยาง” บล็อกเกอร์ด้านไลฟ์สไตล์วัย 27 ปีจากกว่างโจวเล่าว่า ตนเคยท่องเที่ยวต่างประเทศ 3 ครั้งต่อปี โดยไปมาแล้วทั้งสิ้น 26 ประเทศ
“การท่องเที่ยวเป็นชีวิตของฉัน 60% ของรายได้ฉันหมดไปกับการเที่ยว”
ส่วน “จาง เหวิน” ช่างแต่งหน้าวัย 33 ปีเล่าว่า เธอและเพื่อนขับรถข้ามผ่านะเลทรายในดูไบ หมดเงินไปกว่า 25,000 หยวนซึ่งแพงมากกว่าการเที่ยวกับกรุ๊ปทัวร์ แต่ตอบโจทย์เรื่องความยืดหยุ่น “ชีวิตในเซี้ยงไฮ้มันเครียด ฉันอยากจะหาโอกาสดีๆ เพื่อออกไปสู่โลกใหม่ๆ เราต้องการการพักผ่อนและผสานตัวเราให้กลมกลืนไปกับวัฒนธรรมท้องถิ่น”
ด้าน “เจน ซุน” ซีอีโอเว็บไซต์ท่องเที่ยวออนไลน์ที่ใหญ่สุดในจีน Ctrip.com International แย้งว่าข้อมูลท่องเที่ยวข้างต้นนั้นไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับด้านภูมิรัฐศาสตร์ “การท่องเที่ยวไม่ใช่การเมือง มันเป็นการแลกเปลี่ยนวิถีชีวิตและวัฒนธรรม” แต่ข้อมูลกลับยืนยันในทางตรงกันข้ามว่าภูมิรัฐศาสตร์เป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญ โดยการจัดอันดับให้ญี่ปุ่นและเวียดนามเป็นจุดหมายปลายทางสองอันดับแรกของของนักท่องเที่ยวจีนนั้นได้พลิกตกอันดับทันทีหลังจากเกิดกรณีทะเลจีนใต้และทะเลจีนตะวันออกในปี 2010 และแม้ว่าการจัดอันดับจะไม่ครอบคลุมเหตุการณ์ ณ ช่วงเวลาปัจจุบันมาก แต่กรณีพิพาทระหว่างจีนกับเกาหลีใต้ในช่วงที่ผ่านมาก็กระทบการท่องเที่ยวในเกาหลีใต้มากพอสมควร
Garry Stasiulevicuis ประธานบริษัทแห่งหนึ่งในสหราชอาณาจักร (Counter Intelligence Retail) กล่าวว่า ตัวเลขการเติบโตของนักท่องเที่ยวอิสระเป็นผลมาจากการผ่อนปรนความเข้มงวดในการออกวีซ่าและราคาค่าตั๋วเครื่องบินที่ถูกลง ทั้งนี้ได้ประเมินการเปิดเส้นทางบินจากสนามบินจีนถึง 161 เที่ยวบิน โดยคิดเป็นเส้นทางบินใหม่ที่ไม่เคยไปมาก่อนถึง 16 เส้นทางบิน อีกครึ่งหนึ่งเป็เส้นทางไปยังเอเซีย บางส่วนของอเมริกา ยุโรป ตะวันออกกลางและแอฟริกา
นอกจากนี้เขายังมองว่า ความท้าทายนี้ทำให้บริษัททัวร์จีนจำนวนมากต้องปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ เนื่องจากนักท่องเที่ยวอิสระมองหาประสบการณ์ที่แตกต่างและยืดหยุ่นได้ “บริษัททัวร์ต้องรู้ว่าโซเชียลมีเดียเป็นตัวขับเคลื่อนและมีผลดึงดูดใจนักท่องเที่ยวอิสระมากในการเปิดประสบการณ์แปลกใหม่และพิเศษเฉพาะ”
สำหรับสื่อภาพยนตร์ถือเป็นอีกหนึ่งอิทธิพลที่เสริมส่งให้นักท่องเที่ยวจีนออกเดินทาง ในปี 2012 มีหนังตลกต้นทุนต่ำ “Lost in Thailand” ฮิตขนาดทำให้คนจีนทั้งหลายเริ่มมองการท่องเที่ยวในอาเซียนเป็นครั้งแรก หนึ่งในนั้นคือ “อเล็กซ์ หยาง” หัวหน้าบริษัทอินเตอร์เน็ตในภาคใต้ของจีนหันมาท่องเที่ยวพักผ่อนในกรุงเทพและเชียงใหม่เมื่อถึงเทศกาลวันหยุดอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง โดยมีค่าใช้จ่ายประมาณ 20,000 หยวนสำหรับระยะเวลา 1 สัปดาห์ ซึ่งเขาคิดว่าเป็นราคาไม่แพงมากนักเมื่อเทียบกับการท่องเที่ยวภายในประเทศจีน “ค่าโรงแรมบนเกาะไห่หลำช่วงตรุษจีนคืนละ 5,000 หยวน”
ที่มา : ประชาชาติออนไลน์
ระยะหลังมานี้การท่องเที่ยวอิสระด้วยตนเองเริ่มพบมากขึ้นทั่วทั้งทวีปเอเชียจนเรียกว่าเป็นปรากฏการณ์ชนิดหนึ่งก็ว่าได้ โดยข้อมูลการสำรวจล่าสุดของ Consultancy Fung Global Retail & Technology ระบุว่าตลาด
แสดงความคิดเห็น